กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3079
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The transmission process of Thai classical dance in secondary school in the East of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมหมาย แจ่มกระจ่าง ศรีวรรณ ยอดนิล พิมพ์วดี จันทรโกศล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | นาฏศิลป์ไทย - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) โรงเรียนมัธยมศึกษา นาฏศิลป์ไทย สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพและความต้องการในการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทย และสังเคราะห์กระบวนการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก เป็นวิจัยแบบผสม เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามกลุ่มครูสอนนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก จำนวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสัมภาษณ์เชิงลึกครูสอนนาฏศิลป์ำทย จำนวน 15 คน สนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทยและผู้แทนกลุ่มครูสอนนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยของครูสอนนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านคติความเชื่อ ด้านค่านิยม ด้านจุดมุ่งหมาย ด้านองค์ความรู้ ด้านวิธีการ/ ขั้นตอน ด้านการวัดผลและประเมินผล พบว่า โดยรวมให้ความสำคัยในการปฏบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านวิธีการ/ ขั้นตอน ด้านองค์ความรู้ ด้านค่านิยม ด้านจุดมุ่งหมายและดานคติความเชื่อ ตามลำดับ 2. ความต้องการในการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยของครูนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านค่านิยม ด้านจุดมุ่งหมาย ด้านองค์ความรู้ ด้านวิธีการ/ ขั้นตอน ด้านการวัดผลและประเมินผล พบว่า โดยรวมมีความต้องการให้ความสำคัญในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านองค์ประกอบความรู้ ด้านค่านิยม ด้านคติความเชื่อ ด้านวิธีการ/ ขั้นตอนและด้านจุดมุ่งหมายตามลำดับ 3. กระบวนการถ่ายทอดนาฎศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก มี 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 กระบวนการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยสำหรับผู้เรียนกลุ่มเฉพาะให้ความสำคัญกับผู้เรียนที่สนใจคือ มีพื้นฐานความรู้และต้องการมีทักษะ ประสบการณ์ด้านนาฏศิลป์ไทยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทางสังคม โดยมีขั้นตอนหลักในการถ่ายทอด 3 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมการด้านครู ด้านผู้เรียน และปรับสภาพแวดล้อมให้พร้อมต่อการปฏิบัติ 2) ขั้นถ่ายทอด ได้แก่ สรา้งความศรัทธา ปลูกฝังค่านิยมและสั่งสมประสบการณ์ที่ประกอบด้วย ขั้นการเลียนแบบ ขั้นการฝึกทักษะ ขั้นการสร้างสรรค์ 3) ขั้นการวัดผลและประเมินผลในด้านความรู้ทางทฤษฎี ทักษะปฏิบัติ คุณภาพผลงานของผู้เรียนและการประเมินการถ่ายทอดของครู รูปแบบที่ 2 กระบวนการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยสำหรับผู้เรียนกลุ่มทั่วไป มุ่งเน้นการสร้างความสนใจเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะด้านนาฏศิลป์ไทย โดยมีขั้นตอนหลักในการถ่ายทอด 3 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมการด้านครู ด้านผู้เรียน และปรับสภาพแวดล้อมให้พร้อมต่อการปฏิบัติ 2) ขั้นถ่ายทอด ได้แก่ สรา้งความสนใจ สรา้งความศรัทธา ปลูกฝังค่านิยมและสั่งสมประสบการณ์ที่ประกอบด้วย ขั้นการรับรู้ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นสรา้งความเข้าใจ ขั้นการเลียนแบบ ขั้นการฝึกฝนทักษะ ขั้นการสรา้งสรรค์ 3) ขั้นการวัดผลและประเมินผลในด้านความรู้ภาคทฤษฎี ทักษะปฏิบัติ คุณภาพผลงานของผู้เรียนและการประเมินการถ่ายทอดของครู ทั้ง 2 รูปแบบจะ มีการขัดเกลาปลูกฝังความดีสอดแทรกในทุกขั้นตอนการถ่ายทอดตามความเหมาะสมและโอกาสที่จะเอื้ออำนวย |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3079 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edusocial10n2p50_61.pdf | 161.97 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น