กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/300
ชื่อเรื่อง: การทดสอบทางชีววิทยาของเฟอโรโมนจากต่อมแมนดิบูลาร์ของผึ้งพื้นเมืองในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Bioassay of the mandibular gland pheromones of the native honeybees in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กันทิมา สุวรรณพงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ผึ้ง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
เฟอโรโมน
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: พฤติกรรมการหาอาหาร (foraging behaviour) ของผึ้งมีการใช้เฟอโรโมนที่สร้างจากต่อมแมนดิบูลาร์ (mandibular gand pheromones) เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการเก็บอาหาร ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งชนิดและคุณสมบัติของสารที่เป็นองค์ประกอบหลักระหว่างผึ้งพันธุ์พื้นเมือง (native species) และผึ้งนำเข้าจากต่างประเทศ (introduced species) ศึกษาการตอบสนองผึ้งงานของผึ้ง 4 ชนิดคือ ผึ้ง Apis andeniformis, A. florae และ A.mellifera ต่อสาร eicosane,heneicosane, 2-heptanol, i-butyl-3-methyl acetate,dibutyl phthalate, l-ocatanol และ nonadecane ความเข้มข้น 0.1%, 0.5%, 1.0%, 5.0%, และ 10.0% (v/v) และ l-eicosanol ความเข้มข้น 0.1%, 0.5%, 1.0%, 5.0% และ 10.0% (w/v) ที่ละลายใน N-hexane ขณะหาอาหารบนดอกไมยราบ (mimosa pudica Linn.) เปรียบเทียบกับผลการศึกษาตามธรรมชาติ โดยทดสอบทางสถิติด้วยวิธี One-Way ANOVA (p≤0.05) พบว่า สารที่แสดงคุณสมบัติในการดึงดูดผึ้ง A.andreniformis ได้แก่ 0.1% 1-eicosanol, 0.1% 2-heptanol, 10.0% eicosane และ 1.0 %, 5.0%, 10.0% heneicosane ต่อผึ้ง A.mellifera 1.0 %,5.0%,20.0%, 1-butyl-3-methyl acetate สารที่แสดงคุณสมบัติขับไล่ผึ้ง A andreniformis ได้แก่ 5.0%, 10.0% 2-heptanol และ 5.0% eicosane ต่อผึ้ง A. cerana ได้แก่ 1.0 % , 5.0% dibutyl phthakate, 1.0%, 5.0%, 10.0% l-octanol, 0.1%, 0.5%,10.0% l-eicosanol และ 0.5%, 1.0%,5.0%,10.0% heneicosane ต่อผึ้ง A.florea ได้แก่ 0.5%, 1.0%, l-eicosane, 1.0%, 5.0%, 10.0%, 2-heptanol, 0.1%, 0.5%, 1.0%, 5.0%, 10.0% eicosane และ 0.5%, 1.0% heneicosane ชนิดของเฟอโรโมนและความเข้มข้น มีผลต่อพฤติกรรมการหาอาหารของผึ้งแต่ละชนิดแตกต่างกันมีทั้งที่แสดงคุณสมบัติดึงดูดและขับไล่ ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะนำไปประยุกต์ทางด้านการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/300
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น