กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/295
ชื่อเรื่อง: การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาตำบลตะพงและแหลมรุ่งเรือง จังหวัดระยอง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วุฒิชาติ สุนทรสมัย
ธนาวุฒิ โรจนรุ่งทวี
เกศริน อิ่มเล็ก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การตลาด
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ระยอง
การท่องเที่ยวโดยชุมชน - - ระยอง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง “การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งและความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาตำบลตะพงและชุมชนแหลมรุ่งเรือง จังหวัดระยอง” จัดทำขึ้นตามวัตถุประสงค์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้สนใจประกอบการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ อีกทั้งเพื่อศึกษาปัญหาในการประกอบธุรกิจดังกล่าวในชุมชน ตลอดจนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวพักแรมแบบโฮมสเตย์กับชุมชนให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการถ่ายทอดองค์ ความรู้ในด้านการตลาดที่จำเป็นต่อการประกอบการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่การศึกษา วัตถุประสงค์ เนื้อหา สื่อประกอบเป็นคู่มือ วิธีการประเมินผล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งวัดผลผลิตจากกการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรม ผลการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดพิจารณาโดยอาศัยหลักการจัดการเชิงระบบ 3 ประการดังนี้ 1. ปัจจัยนำเข้า ผู้วิจัยได้กำหนดแนวคิดในการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยใช้กลวิธีการเรียนรู้จาการปฏิบัติจริงเป็นหลัก การปรึกษาหารือ โดยอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาด ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากการประชุมชี้แจงแก่ผู้สนใจเข้าร่วมการอบรม ซึ่งสามารถกำหนดสถานที่ เทคนิค วิธีการ สื่อและอุปกรณืต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 2. การดำเนินงาน ผู้วิจัยและชุมชนร่วมกันประชาสัมพันธ์โครงการ และดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดตามที่กำหนดร่วมกันไว้ 3. ผลการดำเนินงาน ผู้วิจัยได้ประเมินผลลลัพธ์ของโครงการด้านความพึงพอใจและประยุกต์ใช้ดังนี้ 3.1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 17 คนส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 - 35 ปี ซึ่งมีการศึกษาในระดับอ่านออกเขียนได้ ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย 3.2 ผุ้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดต่อเนื้อหาที่มีความน่าสนใจ การบรรยายที่สนุกไม่น่าเบื่อ การบริการอาหารว่าง/ อาหารกลางวัน สถานที่สะอาดและเหมาะสม รวมทั้งการได้แลกเปลี่ยนความรู้/ ความคิดเห็น 3.3 ผลผลิตจากการถ่ายทดอฝึกอบรมมีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาของหลักสูตร เช่น ที่พักโรงแรมแบบโฮมสเตย์ในฝันของชาวตะพงและแหลมรุ่งเรื่อง บทเพลงที่ร่วมกันแต่งและร้องที่แต่งขึ้น โปรแกรมการท่องเที่ยว ผลการศึกษาได้พบว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอย่างมาก แต่ยังไม่ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด รวมทั้งการบริการยังขาดมาตรฐานที่เพียงพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทักษะด้านการบริหาร การใช้ภาษาอังกฤษ และการทำบัญชีและการเงินอย่างถูกต้องด้วย ข้อเสนอแนะด้านการวิจัยคือ การติดตามผลการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ตลอดจนการเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนให้เข็มแข็งและเป็นรูปธรรม การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยอาศัยทุนทางปัญญาพื้นบ้านของไทย นอกจากนี้ควรมีการศึกษาวิเคราะห์และระบุปัญหาของชุมชนรายรอบที่ได้รับผลกระทบต่อการเข้ามาของนรักท่องเที่ยวที่ต้องการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ซึ่งมีจำนวนเพื่อมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/295
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น