กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2936
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรสันติวัฒนธรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of strategies for transforming schools at basic education level to the organizations of peace culture
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภชน์ อเนกสุข
สมุทร ชำนาญ
ศิริโชค พิพัฒน์เสถียรกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความรุนแรงในโรงเรียน
โรงเรียน - - การบริหาร
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรสันติวัฒนธรรม และเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การสันติวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposeful sampling) รอบที่ 1 เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาตามประกาศของคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2550 จำนวน 44 แห่งผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 5 คนรวมจำนวน 220 คน รอบที่ 2 เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู จากสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมจำนวน 44 แห่ง และจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 4 ที่ไม่เข้าร่วมโครงการจำนวน 44 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 2 คน รวมจำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการนำกลยุทธ์ไปใช้ของกลุ่มสถานศึกษา ตัวอย่างการวิจัยทั้งสองกลุ่มโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่า Effect Size ผลวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรสินติวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก สำหรับกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรสันติวัฒนธรรม ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ปลูกฝังแนวคิดเชิงบวกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาประสิทธ์ภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมภิบาล กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริม และสนับสนุน การใช้วินัยเชิงบวกในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างรอบด้าน กลยุทธ์ที่ 4 ปลูกฝังทัศนคติ การเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพระบบการเจรจาไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา และกลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยเพื่อน ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปใช้ของกลุ่มสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา พบว่า กลยุทธ์ทั้ง 6 ข้อมีความเป็นไปได้ด้วยค่าเฉลี่ยที่สูงกว่าระดับปานกลาง เมื่อเปรียบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมมีความแตกต่างกันกับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายกลยุทธ์ พบว่า มีกลยุทธ์ที่ไม่ต่างกันคือ กลยุทธ์ที่ 1 ถึงกลยุทธ์ที่ 4 มีเพียงกลยุทธ์ที่ 5 และ 6 ที่สถานศึกษากลุ่มที่ไม่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมไม่เห็นด้วยกับการนำกลยุทธ์ไปใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2936
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edu26n2p159-170.pdf133.27 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น