กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2930
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจันทร์พร พรหมมาศ
dc.contributor.authorอารยา ควัฒน์กุล
dc.contributor.authorภัทรภร ชัยประเสริฐ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:20:07Z
dc.date.available2019-03-25T09:20:07Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2930
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารชีวโมเลกุล และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการเรียนรู้แบบปกติ 2) มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารชีวโมเลกุล และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการเรียนด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 ห้องเรียน 72 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) และสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple random sampling) อีกหนึ่งครั้งโดยวิธีการจับฉลากห้องที่ 1 จำนวน 36 คน เป็นกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน และห้องที่ 2 จำนวน 36 คน เป็นกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจักดารเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารชีวโมเลกุล และแบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการเรียนรู้แบบปกติ โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test for independent samples) และเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารชีวโมเลกุล และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test for dependent samples) ผลวิจัยพบว่า 1)มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารชีวโมเลกุลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่าการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารชีวโมเลกุลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่าการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4)ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานth_TH
dc.subjectวิทยาศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)th_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.subjectเคมี - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)th_TH
dc.subjectแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์
dc.titleผลการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง สารชีวโมเลกุล ด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6th_TH
dc.title.alternativeEffects of learning on biomolecule using model-based learning to develop scientific conceptions and constructing scientific model ability for Mathayomsuksa six studentsen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume26
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to compare 1)scientific conceptions of Biomolecule and constructing scientific model ability between post-test using the Model-based learning and the regular approach and 2) scientific conceptions of Biomolecule and constructing scientific model ability between post-test using the Model-based learning. The participants consisted of 72 students from two classes at Piboonbumpen Demonstation School in the first semester of the academic year 2014, which were randomly selected by using the cluster random sampling and simple random sample random sampling technique. One classroom was an experimental group (n=36) taught with the regular approach. The instruments used in this study were the lesson plans containing the Model-based learning, the lesson plans containing the regular approach, a scientific conceptions on Biomolecule test, and a constructing scientific model ability test. The data were analyzed by comparing the difference between post-test scores using the Model-based learning and the regular approach of scientific conception on Biomolecule and constructing scientific model ability with independent samples t-test and comparing the difference between pre-test scores and post-test scores using the Model-based learning of scientific conceptions of Biomolecule and constructing scientific model ability with dependent samples t-testen
dc.journalวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education, Burapha University
dc.page42-55.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edu26n2p42-55.pdf209.81 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น