กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/290
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย | th |
dc.contributor.author | สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:47:24Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:47:24Z | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/290 | |
dc.description.abstract | หอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) เป็นหอยทะเลเศษฐกิจที่นิยมเลี้ยงบริเวณชายฝั่งทะเลและมีความสำคัญทางการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศ อย่างไรก็ตามการศึกษาการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบยังไม่เคยมีการศึกษาเพื่อประโยชน์ทางการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้โครงการวิจัยเรื่องนี้ได้พัฒนาขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการพัฒนาเทคโนโลยีแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบ เริ่มจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสเปิร์มหอยนางรมปากจีบที่รวบรวมในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ การแช่เย็นน้ำเชื้อหอยนางรมที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบแล้วเก็บรักษาไว้ในไนโตรเจนเหลว ผลการทดลองพบว่าพ่อพันธุ์หอยนางรมปากจีบที่รวบรวมมาตลอดช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ มีเปอร์เซนต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์ม และเปอร์เซนต์การมีชีวิตของสเปิร์มที่มีค่าสูงและไม่แตกต่างกันทางสถิติ การนำเอาน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบมาแช่เย็นในสารละลายบัฟเฟอร์ต่างๆ กัน 5 ชนิด ได้แก่ Artificial sea water (ASW), Calcium – fee Hank's balanced (Ca-F-HBSS), Ringer solution, 0.85% NaCl และ Calcium-free saline (Ca-F Saline) พบว่า น้ำยาสูตรCa-F Saline สามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อได้นานที่สุดและการใช้อัตราส่วนเจือจางน้ำเชื้อต่อสารละลายบัฟเฟอร์เป็น 1 ต่อ 2 ให้ประสิทธิภาพการเก็บรักษาที่ดีกว่าการใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 หรืออัตราส่วน 1 ต่อ 3 การพัฒนาเทคโนโลยีการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบเริ่มจากการศึกษาความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ 10 ชนิด (Dimethyl sulfoxide; DMSO, Methanol, Sucrose, Trehalose, Ethanol, Formamide, Propylene glycol, Acetamide และ Glycerol) ที่มีการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม เพื่อทราบข้อมูลความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ 10 ชนิด (Dimethyl sulfoxide; DMSO, Methanol, Sucrose, Trehalose, Ethanol, Formamide, Propylene glycol, Ethylene glycol, Acetamide และGlycerol) ที่มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม เพื่อทราบข้อมูลความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม จึงนำน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบมาเจือจางในสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ 3 ชนิด (DMSO, Propylene glycol และ Ethylene glycol) ที่ความเข้มข้นต่างๆกัน แล้วแช่แข็งด้วยอัตราการลดอุณหภูมิต่างๆกัน (2.5, 5, 7.5, 10 และ 12.5 องศาเซลเซียส/นาที) โดยลดอุณหภูมิไปจนถึงอุณหภูมิสุดท้าย (final temperature) ที่ -30 องศาเซลเซียส หรือ -80 องศาเซลเซียส แล้วนำน้ำเชื้อแช่แข็งไปเก็บรักษาในถังไนโตรเจนเหลว (อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส)แล้วทำการละลายน้ำเชื้อ (thawing) เพื่อประเมินคุณภาพสเปิร์ม ปรากฎว่า การลดอุณหภูมิขณะแช่แข็งมาถึงอุณหภูมิสุดท้าย -30 หรือ -80 องศาเซลเซียส ให้ผลการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) การพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการผสมเทียมและการผลิตลูกหอยในโรงเพาะฟัก | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา | th_TH |
dc.subject | น้ำเชื้อแช่แข็ง | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.subject | หอยนางรม - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา | th_TH |
dc.subject | หอยนางรมปากจีบ | th_TH |
dc.title | การพัฒนาเทคโนโลยีการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ | th_TH |
dc.title.alternative | Development of sperm cryopreservation technology for oyster (saccostrea cucullata) aquaculture | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2554 | |
dc.description.abstractalternative | Rock oyster (Saccostrea cucullata) is marine mollusk commonly cultured along the coast of Thailand. As cryopreservation of Rock oyster has received attention for aquaculture, this project was therefore developed the freezing protocol for Rock oyster sperm based on sequential studies of sperm quality during the spawning season, chilled storage of semen, cryoprotectant toxicity and cryopreservation of semen. There was no significant differences (P>0.05) in percentages of sperm motility and viability of semen during the season. Rock oyster semen were diluted in one of five sperm extenders, namely Artificial sea water (ASW), Calcium – fee Hank's balanced (Ca-F-HBSS), Ringer solution, 0.85% NaCl และ Calcium-free saline (Ca-F Saline). Ca-F Saline was the best extender for storage of Rock oyster semen at 4 ºC. Dilution ratio of semen and extender at 1:2 was superior to dilution rations at 1:1 or 1:3 during chilled storage. Nine types of cryoprotectants (Dimethyl sulfoxide; DMSO, Methanol, Sucrose, Trehalose, Ethanol, Formamide, Propylene glycol, Ethylene glycol, Acetamide and Glycerol) were tested to evaluate the baseline information of cryoprotectant toxicity on sperm motility. Rock oyster sperm was then frozen with one of the three cryoprotectants at various final concentration using difference cooling rates at 2.5, 5, 7.5, 10 and 12.5 ºC/minute to the final temperature at -30 ºC or -80 ºC before plunging liquid nitrogen. There was no significant difference (P>0.05) in post-thaw sperm motility between the final temperature at -30 ºC and -80 ºC. Freezing of Rock oyster semen can be artificially inseminate the eggs for seed production. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น