กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2852
ชื่อเรื่อง: | ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นุจรี ไชยมงคล จิรกุล ครบสอน มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความเครียดในวัยรุ่น จิตวิทยาวัยรุ่น วัยรุ่น - - สุขภาพจิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่อศึกษาความเครียด พฤติกรรมการเผชิญความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่น ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายและแบบโค้วต้า เป็นวัยรุ่นอายุ 11-18 ปี ที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งหมด 110 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเครียดสวนปรุงและแบบวัด พฤติกรรมการเผชิญความเครียดของจาโลวิก มีอัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .90 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย สถิติสหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 50.96 (SD = 13.07) และส่วนมากมีความเครียดอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 54.5) คะแนนพฤติกรรมการเผชิญความเครียด โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 112.46 (SD = 14.78) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้าน การจัดการกับปัญหาเท่ากับ 43.89 (SD = 6.47) ด้านการจัดการกับอารมณ์เท่ากับ 25.74 (SD =5.08) และด้านการจัดการปัญหาทางอ้อมเท่ากับ 42.84 (SD = 6.12) ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญ ความเครียดมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .463, p <.001) และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการเผชิญ ความเครียดทั้งสามด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.241, p < .05, r = .562, p < .001) และ r = .397, p<.001 ตามลำดับ) วัยรุ่นหญิงมีความเครียดสูงกว่าวัยรุ่นชาย (t = -2.269, p < .05) วัยรุ่นที่อยู่ในสถานพินิจ 90 วัน หรือน้อยว่า มีความเครียดมากกว่าวัยรุ่นที่อยู่นานกว่า 90 วัน ( t = 2.97, p < .01) และพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นที่มีการศึกษามัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ดีกว่าวัยรุ่นที่มีการศึกษาระดับประถม (d = -9.217, p < .01) อย่างไรก็ดี อายุ ระยะเวลา และจำนวนครั้งที่อยู่สถานพินิจแตกต่างกันอย่างไรมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.5) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพวัยรุ่นที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรจัดกิจกรรมเพื่อลดความเครียด และส่งเสริมการมีพฤติกรรมการเผชิญความเครียดที่เหมาะสมต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2852 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น