กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2852
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorนุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.authorจิรกุล ครบสอน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:20:02Z
dc.date.available2019-03-25T09:20:02Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2852
dc.description.abstractการวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่อศึกษาความเครียด พฤติกรรมการเผชิญความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่น ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายและแบบโค้วต้า เป็นวัยรุ่นอายุ 11-18 ปี ที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งหมด 110 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเครียดสวนปรุงและแบบวัด พฤติกรรมการเผชิญความเครียดของจาโลวิก มีอัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .90 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย สถิติสหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 50.96 (SD = 13.07) และส่วนมากมีความเครียดอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 54.5) คะแนนพฤติกรรมการเผชิญความเครียด โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 112.46 (SD = 14.78) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้าน การจัดการกับปัญหาเท่ากับ 43.89 (SD = 6.47) ด้านการจัดการกับอารมณ์เท่ากับ 25.74 (SD =5.08) และด้านการจัดการปัญหาทางอ้อมเท่ากับ 42.84 (SD = 6.12) ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญ ความเครียดมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .463, p <.001) และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการเผชิญ ความเครียดทั้งสามด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.241, p < .05, r = .562, p < .001) และ r = .397, p<.001 ตามลำดับ) วัยรุ่นหญิงมีความเครียดสูงกว่าวัยรุ่นชาย (t = -2.269, p < .05) วัยรุ่นที่อยู่ในสถานพินิจ 90 วัน หรือน้อยว่า มีความเครียดมากกว่าวัยรุ่นที่อยู่นานกว่า 90 วัน ( t = 2.97, p < .01) และพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นที่มีการศึกษามัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ดีกว่าวัยรุ่นที่มีการศึกษาระดับประถม (d = -9.217, p < .01) อย่างไรก็ดี อายุ ระยะเวลา และจำนวนครั้งที่อยู่สถานพินิจแตกต่างกันอย่างไรมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.5) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพวัยรุ่นที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรจัดกิจกรรมเพื่อลดความเครียด และส่งเสริมการมีพฤติกรรมการเผชิญความเครียดที่เหมาะสมต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectความเครียดในวัยรุ่นth_TH
dc.subjectจิตวิทยาวัยรุ่นth_TH
dc.subjectวัยรุ่น - - สุขภาพจิตth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume21
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive correlational research were to examine stress and coping behaviors, and determine relationships between stress and coping behaviors of adolescents in the Observation and Protection Center. Simple random sampling and quota were used to recruit 110 adolescents aged 11-18 years admitted in the observation and protection center in Chon Buri province. Data were collected during May, 2011. Research instruments included the demographic questionnaire, the Suanprung Stress Test, and the Jalowice’s scale of coping behaviors. Their Cronbach’s alpha coefficients were .90 and .85, respectively. Data analyses included frequency, percent, mean, standard deviation, range, Pearson’s correlation, t-test and one-way ANOVA. Results revealed that the sample had mean stress’s score of 50.96 (SD = 13.07). Most of the sample had high stress level (54.5%). Mean total coping behaviors’ score was 112.46 (SD = 14.78). When considering mean scores of each dimension, problem focus coping was 43.89 (SD = 6.47), emotional focus coping was 25.74 (SD = 5.08), and palliative coping was 42.84 (SD = 6.12). There was a positively significant correlation between stress and coping Behavior (r = .463, p< .001). Moreover, there was a positively significant correlation between Stress and each of coping behaviors’ dimension (r = .241, p < .05, r = .562, p < .001 and r = .397, p < .001, respectively). Girls had higher stress than boys (t = -2.269, p < .05). The sample who were admitted in the Observation and Protection center 90 days or less had more stress than those with longer than 90 days ( t= 2.976, p< .01). The sample with high school or vocational education had better coping behaviors than those with secondary school education (d = -9.217, p < .01). However, there were no significantly differences of coping behaviors among the sample’s age, duration and number of time admitted in the Observation and Protection Center (p > .05).en
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University.
dc.page1-12.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p1-12.pdf288.47 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น