กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/284
ชื่อเรื่อง: | วิธีการแบบผสมสำหรับการสกัดคุณลักษณะของชุดข้อมูลบนเครือข่ายเพื่อระบุผู้บุกรุกแบบเวลาจริง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Hybrid method for feature extraction in real-time intrusion |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤษณะ ชินสาร สุวรรณา รัศมีขวัญ สุนิสา ริมเจริญ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ |
คำสำคัญ: | การป้องกันข้อมูล ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | วิธีการของการตรวจจับการบุกรุกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ วิธีการตรวจจับการบุกรุกแบบอโนมาลี (anomaly intrusion detection method) และวิธีการตรวจจับการบุกรุกแบบมิสยูส (misuse intrusion detection method) โดยที่วิธีการตรวจจับการบุกรุกแบบอโนมาลีนั้นเป็นวิธีการหาผู้บุกรุกโดยการวิเคราะห์การใช้งานของผู้ใช้งาน หรือตัวระบบเองที่เบี่ยงเบนไปจากระดับการใช้งานโดยปกติ ส่วนการตรวจจับการบุกรุกแบบมิสยูสนั้น เป็นวิธีการหาผู้บุกรุกโดยการเปรียบเทียบข้อมูลที่เข้ามากับรูปแบบของผู้บุกรุกที่มีอยู่เดิม ซึ่งทั้งสองวิธีนี้มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ปัญหาที่เด่นชัดที่สุดของการตรวจจับการบุกรุกแบบมิสยูส คือ ไม่สามารถตรวจจับการบุกรุกแบบใหม่ หรือการบุกรุกที่ไม่มีในชุดรูปแบบของผู้บุกรุกที่มีได้ ส่วนการตรวจจับการบุกรุกแบบอโนมาลีนั้น จะสามารถตรวจจับการบุกรุกจากผู้บุกรุกที่ไม่มีในฐานข้อมูลการบุกรุกได้ แต่ปัญหาที่สำคัญในการตรวจจับการบุกรุกแบบอโนมาลีคือ ทำอย่างไรถึงจะสร้างเค้าโครงของการใช้งานปกติที่ดีได้ ในงานวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการสกัดคุณลักษณะของชุดข้อมูลบนเครือข่าย มีความสำคัญต่อการพัฒนาการระบุผู้บุกรุกเป็นอย่างมากในการได้มาซึ่งตัวแทนชุดคุณลักษณะของชุดข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการระบุผู้บุกรุกโดยอาศัยวีการแบบผสมในการสกัดคุณลักษณะของชุดข้อมูลเครือข่าย ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการะบุผู้บุกรุกได้เหมาะสมมากกว่า การพัฒนาการสกัดคุณลักษณะชุดข้อมูลเครือข่าย ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1. การหาคุณลักษณะของชุดข้อมูลที่สามารถแทนข้อมูลได้และมีข้อจำนวนคุณลักษณะที่เหมาะสม และขั้นตอนที่ 2 การรู้จำรูปแบบการบุกรุกเพื่อระบุผู้บุกรุกจากชุดข้อมูลบนเครือข่ายจากคุณลักษณะที่ได้จากการสกัดคุณลักษณะของชุดข้อมูล โดยวัดประสิทธิภาพจากอัตราความเร็วในการตรวจจับผู้บุกรุก และเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดของการตรวจจับผู้บุกรุก |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/284 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_188.pdf | 989.25 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น