กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2832
ชื่อเรื่อง: | ผลของการใช้โปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภท |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of interpersonal group therapy on quality of life among schizophrenic patients |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วลัยพร สุวรรณบูรณ์ สายใจ พัวพันธ์ สงวน ธานี จิณห์จุฑา ชัยเสนา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กลุ่มบำบัดประคับประคอง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คุณภาพชีวิต ผู้ป่วยจิตเภท สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทระยะอาการทุเลา เน้นการป้องกันการกลับเป็นซ้ำและการดูแลด้านจิตสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มารักษาที่คลินิกสุขภาพจิต โรงพยาบาลนครนายก ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 24 ราย สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่บูรณาการแนวคิดมาจากทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว แนวคิดการทำกลุ่มบำบัดของยาลอม และแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภทของไฮน์ริช, ฮานลอน และคาร์เพนเตอร์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ คือ กลุ่มสุขภาพจิตศึกษา ทั้งสองกลุ่มใช้เวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ โรคประจำตัว สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ บุคคลที่อาศัยด้วยในปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาเจ็บป่วย จำนวนครั้งที่รักษาในโรงพยาบาล และความสามารถในการดูแลตนเอง และแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภทของไฮน์ริช, ฮานลอน และคาร์เพนเตอร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 เก็บข้อมูลในระยะก่อนและหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบสถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1.คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t11= 21.712, p < .001) 2.คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลสูงกว่าผู้ป่วยโรคจิตเภทในกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t22 = 12.792, p < .001) จากผลของการวิจัย พยาบาลสามารถนำโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลนี้ไปใช้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภท และผู้ป่วยบริหารการพยาบาลพัฒนาระบบการพยาบาลจิตเวชที่เน้นการส่งเสริมความสามารถในการพึ่งพาตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2832 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น