กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2832
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วลัยพร สุวรรณบูรณ์ | |
dc.contributor.author | สายใจ พัวพันธ์ | |
dc.contributor.author | สงวน ธานี | |
dc.contributor.author | จิณห์จุฑา ชัยเสนา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:18:56Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:18:56Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2832 | |
dc.description.abstract | การดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทระยะอาการทุเลา เน้นการป้องกันการกลับเป็นซ้ำและการดูแลด้านจิตสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มารักษาที่คลินิกสุขภาพจิต โรงพยาบาลนครนายก ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 24 ราย สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่บูรณาการแนวคิดมาจากทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว แนวคิดการทำกลุ่มบำบัดของยาลอม และแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภทของไฮน์ริช, ฮานลอน และคาร์เพนเตอร์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ คือ กลุ่มสุขภาพจิตศึกษา ทั้งสองกลุ่มใช้เวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ โรคประจำตัว สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ บุคคลที่อาศัยด้วยในปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาเจ็บป่วย จำนวนครั้งที่รักษาในโรงพยาบาล และความสามารถในการดูแลตนเอง และแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภทของไฮน์ริช, ฮานลอน และคาร์เพนเตอร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 เก็บข้อมูลในระยะก่อนและหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบสถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1.คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t11= 21.712, p < .001) 2.คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลสูงกว่าผู้ป่วยโรคจิตเภทในกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t22 = 12.792, p < .001) จากผลของการวิจัย พยาบาลสามารถนำโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลนี้ไปใช้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภท และผู้ป่วยบริหารการพยาบาลพัฒนาระบบการพยาบาลจิตเวชที่เน้นการส่งเสริมความสามารถในการพึ่งพาตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท | th_TH |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | กลุ่มบำบัดประคับประคอง | th_TH |
dc.subject | ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล | th_TH |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเภท | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | ผลของการใช้โปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภท | th_TH |
dc.title.alternative | Effects of interpersonal group therapy on quality of life among schizophrenic patients | en |
dc.type | บทความวารสาร | |
dc.issue | 1 | |
dc.volume | 23 | |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | The substantial care for schizophrenic patients in recovering phase is relapse prevention and psychosocial treatment in order for enhancing quality of life. This quasi-experimental study was to examine the effect of interpersonal group therapy on quality of life in schizophrenic patients. Twenty four participants from Mental Health and Psychiatric Clinic, Nakhonnayok Hospital were recruited and randomly selected to participate in experimental group and control group. Twelve participants in the experimental group participated interpersonal group therapy, and the others in the control group attended the psychoeducational program. Both group were carried on once a week for 6 weeks. Heinrich, Hanlon & Carpenter’s Quality of life questionnaire was applied for data collection before and after participation. Descriptive statistics, and t-test were used for data analysis. Findings were as follow: 1. Mean score of quality of life in the experimental group after ITP were significantly higher than before at .001 (t11= 21.712, p < .001) 2. Mean score of quality of life in the experimental group after ITP were significantly higher than mean score of quality of life of participants in the control group at .001 (t22 = 12.792, p < .001) Based on the findings, nurses can apply the interpersonal group therapy to promote quality of life for schizophrenic patients. Moreover, nurse administrators would develop psychiatric nursing care that emphasizes on schizophrenic patients’ independency and quality of life | en |
dc.journal | วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University | |
dc.page | 68-79. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น