กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2826
ชื่อเรื่อง: | ผลของการจัดการกับความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวด และความพึงพอใจในการจัดการกับความปวดของผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง ณ โรงพยาบาลชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of planned pain management on pain and satisfaction with pain management of patients with abdominal surgery at Chonburi Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อังคนา จงเจริญ สิริกร เทียนหล่อ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความพอใจของผู้ป่วย ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม ช่องท้อง - - ศัลยกรรม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการกับความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวดและความพึงพอใจในการจัดการกับความปวดของผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องที่โรงพยาบาลชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางช่องท้องโดยไม่มีการบาดเจ็บระบบอื่นร่วม และได้รับการผ่าตัดในเยื่อบุช่องท้องและบริเวณลำไส้แบบเร่งด่วน ร่วมกับได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 – สิงหาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยผู้ป่วย 30 ราย เป็นกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลเพื่อจัดการความปวดตามปกติ และอีก 30 ราย เป็นกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามแผนกการจัดการความปวดหลังผ่าตัดช่องท้องที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความปวดหลังผ่าตัด แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการจัดการความปวดหลังผ่าตัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินระดับความรุนแรงของความปวด เมื่อครบ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง หลังผ่าตัดสัมภาษณ์ความพึงพอใจในการจัดการความปวดเมื่อครบ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เมื่อครบ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ไม่แตกต่างกัน (p > .05) ขณะที่คะแนนความปวดเมื่อครบ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัดของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F(2,116) = 950.553, p < .001) และพบว่ากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในการจัดการความปวดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 6.92, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการความปวดในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องแบบเร่งด่วนต่อไป โดยการจัดการความปวดควรคำนึงถึงกลุ่มผู้ป่วย กลุ่มผู้ใช้แนวปฏิบัติ และบริบทของโรงพยาบาล และการจัดการความปวดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น ต้องเกิดจากความพึงพอใจของทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วย |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2826 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น