กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2825
ชื่อเรื่อง: | ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรชัย จูลเมตต์ วัชรา ตาบุตรวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้สูงอายุ - - การดูแล ผู้สูงอายุ เครื่องช่วยหายใจ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 63 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดความต้องการของผู้ป่วยของเครเกล (Kraegel, 1974) มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .89 และ .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยความต้องการโดยรวมของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 85.89, SD = 9.42) ส่วนรายด้านพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสรีรวิทยา (ค่าเฉลี่ย = 32.30, SD = 3.68) ด้านจิตสังคม (ค่าเฉลี่ย = 36.70, SD = 5.20) และด้านสิ่งแวดล้อม (ค่าเฉลี่ย = 16.89, SD = 2.18) 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 73.89, SD = 8.14) ส่วนรายด้าน พบว่า ผู้สูงอายุได้รับการตอบสนองความต้องการด้านสรีรวิทยา และสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 28.87, SD = 4.06; ค่าเฉลี่ย = 14.63, SD = 2.54) ขณะที่ได้รับการตอบสนองความต้องการด้านจิตสังคม (ค่าเฉลี่ย = 31.38, SD = 4.28) อยู่ในระดับปานกลาง และ 3) คะแนนเฉลี่ยของความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยรวมของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.26, p < .001) ขณะเดียวกันพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ได้แก่ ด้านสรีรวิทยา (t = 5.67, p < .001) ด้านจิตสังคม (t = 7.43, p < .001) และด้านสิ่งแวดล้อม (t = 6.09, p < .001) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า นักวิจัยพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจควรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสรีรวิทยา จิตสังคม และสิ่งแวดล้อมต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2825 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น