กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2825
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพรชัย จูลเมตต์
dc.contributor.authorวัชรา ตาบุตรวงศ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:55Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:55Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2825
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 63 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดความต้องการของผู้ป่วยของเครเกล (Kraegel, 1974) มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .89 และ .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยความต้องการโดยรวมของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 85.89, SD = 9.42) ส่วนรายด้านพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสรีรวิทยา (ค่าเฉลี่ย = 32.30, SD = 3.68) ด้านจิตสังคม (ค่าเฉลี่ย = 36.70, SD = 5.20) และด้านสิ่งแวดล้อม (ค่าเฉลี่ย = 16.89, SD = 2.18) 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 73.89, SD = 8.14) ส่วนรายด้าน พบว่า ผู้สูงอายุได้รับการตอบสนองความต้องการด้านสรีรวิทยา และสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 28.87, SD = 4.06; ค่าเฉลี่ย = 14.63, SD = 2.54) ขณะที่ได้รับการตอบสนองความต้องการด้านจิตสังคม (ค่าเฉลี่ย = 31.38, SD = 4.28) อยู่ในระดับปานกลาง และ 3) คะแนนเฉลี่ยของความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยรวมของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.26, p < .001) ขณะเดียวกันพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ได้แก่ ด้านสรีรวิทยา (t = 5.67, p < .001) ด้านจิตสังคม (t = 7.43, p < .001) และด้านสิ่งแวดล้อม (t = 6.09, p < .001) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า นักวิจัยพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจควรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสรีรวิทยา จิตสังคม และสิ่งแวดล้อมต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ - - การดูแลth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectเครื่องช่วยหายใจth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume23
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive research was to study needs and respond needs of elderly who experienced receiving ventilator. Sixty three elderly participants who were admitted to medical unit of one hospital in Chochoengsao province were recruited into this study. The instruments used in this study consisted of The Demographic Data Form, The Need and Respond Needs of Elderly Received Ventilator Interview From elaborated by the researcher based on Kraegel’s patient need concept (1974) with their reliabilities of .89 and .76 respectively. Descriptive statistics and t-test were computed for data analysis. Findings revealed that: 1) The overall mean score of needs of elderly receiving ventilators was at a high level (= 85.89, SD = 9.42). Moreover, mean score of each aspect of need was also at a high level; physiological need (= 32.30, SD = 3.68), socio-psychological need (x = 36.70, SD = 5.20) and environmental need was high level (x = 16.89, SD = 2.18). 2) The overall mean score of respond needs of elderly receiving ventilators was at a moderate level (x = 73.89, SD = 8.14). The mean score of physiological respond needs and environmental respond needs were at a high level (x = 28.87, SD= 4.06; x = 16.89, SD = 2.18) whereas the mean score of socio-psychological respond needs was at a moderate level. (x = 31.38, SD = 4.28) 3) There was statistically significant difference between overall mean score of needs and responds needs of elderly receiving ventilators (t = 8.26, p < .001). In addition, there were statistically significant differences between mean score of each aspect of needs and respond needs of elderly receiving ventilations, namely physiological respond needs (t = 5.67, p< .001), socio-psychological respond needs (t = 7.43, p < .001), and environmental respond needs (t = 6.09, p , .001). These results suggested that researchers, nurses, and health professionals should apply these findings as information to further develop quality of care of elderly receiving ventilators so to serve their physiological, socio-psychological, and environmental needsen
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University.
dc.page52-62.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
52-62.pdf770.66 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น