กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/281
ชื่อเรื่อง: | ศึกษาสมบัติของดินเหนียวที่ใช้ผลิตอิฐมอญแดง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เพื่อการออกแบบ และพัฒนาเป็นเครื่องเคลือบดินเผาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A syudy of red brick clay properties of Phantong, Chon buri province for design and development to be community ceramic handicraft product |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ดินเหนียว เครื่องปั้นดินเผา - - ชลบุรี เครื่องเคลือบดินเผา - - การผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายหลัก 2 ประการคือ 1. เพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบ “ดินเหนียว อำเภอพานทอง จังหวัด ชลบุรี” โดยใช้กระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตทางด้านเครื่องเคลือบดินเผา 2. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำดินท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชนเพิ่มโอกาสทางการจัดจำหน่ายและสร้างเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลการวิจัย จากการวิจัยและทดลองสมบัติทางกายภาพของดินเหนียวที่ใช้ผลิตอิฐ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี พบว่าการเผา ควรเผา 2 ครั้ง คือเผาดิบและเผาเคลือบ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเผาดิบ อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส สมบัติทางกายภาพที่ได้หลังการเผาคือ เนื้อดินมีความพรุนตัว มีเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำ เท่ากับ 21.3 เนื้อดินมีเปอร์เซ็นต์การหดตัว เท่ากับ 7 และเนื้อดินมีสีหลังเผา คือสีน้ำตาลส้มอ่อน และอุณภูมิที่เหมาะสมในการเผาเคลือบอยู่ในช่วงอุณหภูมิ 1,000-1,050 องศาเซลเซียส บรรยากาศที่ใช้ในการเผาคือ การเผาไหม้แบบสมบูรณ์ (Oxidation Firing) ด้านการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ จากผลการทดลองพบว่า ดินเหนียว อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ขานดเล็ก ประมาณ 10x10x15 เซ็นติเมตร ได้หลายวิธี ซึ่งผู้วิจัยทดลองได้ 3 วิธี คือ 1. การขึ้นรูปด้วยวิธีปั้นบีบ 2. การขึ้นรูปด้วยวิธีขด และ 3. การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนไฟฟ้า ทั้ง 3 วิธี มีความเหมาะสมกับเนื้อดิน ขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ของผู้ผลิต สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกกรรมวิธี ขึ้นรูปแบบปั้นบีบ มาใช้ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น พบว่ามีความเป็นไปได้ในการผลิตในระยะเริ่มต้น คือ ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทกระถางต้นไม้ขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์ที่วางเทียนสำหรับตกแต่งและใช้งานในสปาหรือบ้านพักอาศัย และผลิตภัณฑ์แจกันประดับตกแต่ง กลุ่มประเภทของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีโอกาสในเชิงพานิชย์สูง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย การวิเคราะห์ จากการวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถรายงานได้ดังต่อไปนี้ ดินเหนียว อำเภอพานทอง เป็นดินท้องถิ่นที่มีความเหนียวอยู่ในระดับปานกลาง ก่อนนำมาใช้งาน ควรหมักดินในระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ก่อนนำมาขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ด้านการเผาการเผาดิบใช้อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส ก็สามรถนำผลิตภัณฑ์ไปชุบเคลือบหรือตกแต่งในขั้นตอนต่อไปได้ การเผาในอุณหภูมินี้จะสามรถควบคุมและลดค่าใช้จ่ายต้นทุนด้านเชื้อเพลิงได้ การเผาเคลือบ ช่วงอุณหถูมิประมาณ 1,000-1,050 องศาเซลเซียส บรรยากาศการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ การเผาด้วยอุณหภูมินี้ เคลือบสุกตัว (เคลือบไฟต่ำ) ดินสุกตัว โครงสร้างของดินไม่เสียหาย ผลิตภัณฑ์สามารถคงรูปทรงได้เป็นอย่างดี บรรยากาศที่ใช้ในการเผา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้บรรยากาศในการเผาคือ การเผาไหม้แบบสมบูรณ์ (Oxidation Firing) การเผาด้วยบรรยากาศนี้จะมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ (Reduction Firing) ซึ่งจะส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ ขั้นตอนการเผาไม่ซับซ้อน มีความสัมพันธ์กับประเภทของเคลือบที่ใช้ในการวิจัย ข้อเสนอแนะการวิจัยมีดังนี้ 1. ดินอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี มีความเป็นไปได้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ขนาดกลาง แต่ควรคำนึงถึงต้นทุน ทักษะการขึ้นรูป และอุปกรณ์การผลิต 2. ควรผึ่งผลิตภัณฑ์ให้แห้งสนิท ก่อนเผาดิบ 3. ควรควบคุมความหนาของผลิตภัณฑ์ให้สม่ำเสมอ ประมาณ 1.5 เซนติเมตร 4. พัฒนารูปทรงและลวดลายของผลิตภัณฑ์จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/281 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_112.pdf | 8.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น