กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2804
ชื่อเรื่อง: | เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลิขิต น้อยจ่ายสิน มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ ภูมิสารสนเทศ สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
บทคัดย่อ: | ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นปัญหาที่สำคัญของมนุษย์ทั่วโลก ประเทศไทยประสบปัญหาภัยพิบัติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สุขภาพ และความปลอดภัย ภัยพิบัติทางธรรมชาติบางครั้งเป็นเรื่องที่ยากในการเตรียมแผนป้องกัน การนำความรู้ ในหลาย ๆ ด้านมาใช้ในการจัดการปัญหาจึงมีความจาเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) การรับรู้ ระยะไกล (Remote Sensing: RS) และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Navigation Satellite System: GNSS) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาภัยพิบัติได้ ในประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาภัยพิบัติทางธรรมชาติในด้านต่าง ๆ เช่น แผ่นดินไหว อุทกภัย แผ่นดินถล่ม คลื่นพายุซัดฝั่ง ไฟป่า และภัยแล้ง ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเป็นประโยชน์อย่างมากต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศนั้นต้องมีความระมัดระวังในเรื่อง ความถูกต้องของข้อมูล ระยะเวลาของการเก็บข้อมูล และมาตรฐานของข้อมูลเพื่อความน่าเชื่อถือของผลการวิเคราะห์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2804 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ(Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
sci19n2p179-188.pdf | 421.51 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
sci19n2p179-188.pdf | 421.51 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น