กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2790
ชื่อเรื่อง: การกำจัดสีย้อมในน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยถ่านกัมมันต์จากเปลือกปู
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Dye removal of textile wastewaters using crab shell activated carbon
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศิธร มั่นเจริญ
อรดี ฤทธิชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: คาร์บอนกัมมันต์
น้ำเสีย - - การบำบัด - - การกำจัดสี
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
เปลือกปู
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการเตรียมถ่านกัมมันต์จากเปลือกปูเพื่อใช้กำจัดสีย้อมในน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรม สิ่งทอ พบว่าการคาร์บอไนเซชันถ่านด้วยการเผาเปลือกปูที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 นาที และกระตุ้นถ่านคาร์บอไนเซชันด้วยซิงก์คลอไรด์ในอัตราส่วนน้ำหนักแห้งของถ่านต่อซิงก์คลอไรด์ 1:2 ที่อุณหภูมิ 650 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที เป็นภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมถ่านกัมมันต์ นอกจากนี้ได้ศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการดูดซับสี เมทิลีนบลู ได้แก่ ปริมาณถ่านกัมมันต์ เวลาเข้าสู่สมดุล ความเป็นกรดด่าง และไอโซเทอมของการดูดซับ จากผลการทดลองพบว่า ปริมาณถ่านที่เหมาะสมในการดูดซับเท่ากับ 32 กรัมต่อลิตร เวลาในการดูดซับที่เหมาะสมเท่ากับ 150 นาที ความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5.0 และไอโซเทอมของการดูดซับของถ่านกัมมันต์จากเปลือกปูสอดคล้องกับไอโซเทอมของแลงเมียร์ และเมื่อนำถ่านกัมมันต์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้สำหรับการกำจัดสีย้อมในน้ำทิ้งจากโรงงานฟอกย้อม พบว่า สีย้อม ในน้ำทิ้งตัวอย่างมีความเข้มสีลดลงร้อยละ 63.5 – 75.6 ในการบำบัดเพียงครั้งแรก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2790
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
131-140.pdf3.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น