กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2781
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาของนักกีฬาระดับอุดมศึกษา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | คุณัตว์ พิธพรชชัยกุล นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | กีฬา - - แง่จิตวิทยา กีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาและศึกษาอิทธิพลของลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธฺ์ที่มีต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาและศึกษาอิธิพลของลักาณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธฺ์ที่มีต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 ณ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 594 คน เป็นนักกีฬาชาย 349 คน หญิง 245 คน มีอายุเฉลี่ย 20.67ช1.63 ปี (อายุระหว่าง 18-25 ปี) ให้นักกีใาตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการเล่นกีฬา จำนวน 13 ข้อและแบบสอบถามแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา จำนวน 30 ข้อ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (RMSEA = .043, SRMR = .046, NFI = 97, CFI = .98) แสดงว่า แบบสอบถามแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬามีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างสามารถใช้วัดแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาได้เป็นอย่างดีจากการสำรวจพบว่า มีจำนวนนักกีฬาที่มีลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มุ่งในการกระทำระดับสูง และมุ่งเปรียบเทียบผู้อื่นในระดับตำ่ (Task สูง Ego ตำ่) มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาเป็นนักกีฬาที่มีลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มุ่งในการกระทำระดับสูง และมุ่งเปรียบเทียบผู้อื่นในระดับสูง (Task สูง Ego สูง) และนักกีฬาที่มีลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มุ่งในการกระทำระดับตำ่ และมุ่งเปรียบเทียบผู้อื่นในระดับตำ่ (Task ตำ่ Ego ตำ่) สำหรับนักกีฬาที่มีลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มุ่งในการกระทำระดับตำ่ และมุ่งเปรียบเทียบผู้อื่นในระดับตำ่ (Task ต่ำ Ego สูง) สำรวจไม่พบในการวิจัยครั้งนี้นอกจากนี้ ยังพบว่า นักกีฬากลุ่ม Task สูง Ego สูง และ กลุ่ม Task สูง Ego ต่ำ มีแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ด้านใฝ่สัมฤทธิ์/ การยอมรับและด้านการทำงานเป็นทีมแตกต่างกับนักกีฬากลุ่ม Task ต่ำ Ego ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับนักกีฬากลุ่ม Task สูง Ego สูง และกลุ่ม Task สูง Ego ต่ำ มีแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ด้านใฝ่สัมฤทธิ์/ การยอมรับและด้านการทำงานเป็นทีมมีความแตกต่างกันอย่างไรไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ฝึกสอนและผู้ที่เกี่ยวข้องทางการกีฬาควรส่งเสริมให้นักกีฬามีบุคลิกลักษณะที่มุ่งในการกระทำและพยายามกระตุ้นให้นักกีฬามีแรงจูงใจทางด้านใฝ่สัมฤทธิ์/ การยอมรับ และด้านการทำงานเป็นทีมในการฝึกซ้อมกีฬา ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักกีฬา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2781 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p17-27.pdf | 1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น