กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2780
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปราณี อยู่ศิริ | |
dc.contributor.author | ประทุม ม่วงมี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:18:52Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:18:52Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2780 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลาง (ประมาณ 70% ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (MHR) ทำให้เกิดการพัฒนาสมรรถภาพทางกายได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีดรรชนีชีวัดหลายอย่างว่าการออกกำลังกายมีความหนักเพียงพอหรือไม่ จึงทำให้น่าศึกษาดรรชนีอื่น ๆ เพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณน้ำอะไมเลส ค่าความเป็นกรด-ด่าง ในน้ำลายและกรดแลคติกในเลือดว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร ขณะออกกำลังกายที่ 70% MHR และสร้างสมการพยากรณ์ปริมาณ อะไมเลสในน้ำลายจากตัวแปรที่ศึกษาร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชาย อายุระหว่าง 18-25 ปี ได้มาด้วยการอาสาสมัคร แล้วทำการสุ่มตัวอย่างย่างง่าย จำนวน 15 คน ทุกคนเป็นผู้มีสุขภาพดี เก็บข้อมูลโดยเก็บตัวอย่างน้ำลาย และเจาะเลือดบริเวณปลายนิ้ว หาค่าปริมาณกรดแลคติกจากกลุ่มตัวอย่างขณะพัก แล้วจึงให้กลุ่มตัวอย่างเดิน-วิ่ง บนทางวิ่งกลตามวิธีของวิลสัน จนกระทั่งมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ 70% MHR ณ จุดนั้นเก็บตัวอย่างน้ำลายและทำการเจาะเลือดเพื่อหาค่าของตัวแปรต่าง ๆ ที่ศึกษาเช่นเดียวกับช่วงขณะพัก ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ขณะออกกำลังกายที่ความหนัก 70% MHR ปริมาณน้ำ ในน้ำลายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.871 กรัม/ มิลลิลิตร ปริมาณอะไมเลสในน้ำลายมีค่าเท่ากับ 311, 160 ยูนิต/ลิตร น้ำลายมีค่าเฉลี่ยความเป็กนรด-ด่าง เท่ากับ 6.86 และพบปริมาณกรดแลคติกในเลือด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.8 มิลลิโมล/ลิตร ซึ่งเป็นค่าที่สามารถบ่งชี้ถึงการออกกำลังกายที่ความหนัก 70% MHR ถูกสร้างขึ้นโดยพิจารณาจากปริมาณกรดแลคติกในเลือดและปริมารน้ำในน้ำลาย สมการพยาการณ์ปริมารอะไมเลสขณะออกกำลังกายที่ความหนัก 70% MHR โดยสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง คือปริมาณอะไมเลส ขณะออกกำลังกายที่ 70% MHR = 2093088.313-176625.083 x (ปริมาณกรดแลคติกในเลือดขณะออกกำลังกายที่ 70% MHR) -1478509.995 x (ปริมาณน้ำในน้ำลายขณะออกกำลังกายที่ 70% MHR) จากข้อมูลที่ปรากฏทำให้สามารถนำเสนอค่าปริมาณกรดแลคติกในเลือดและปริมาณน้ำในน้ำลายขณะออกกำลังกายที่ 70 % MHR นอกจากนี้ยังได้สมการพยากรณ์ค่าของอะไมเลสจากตัวแปรที่วัดได้ง่ายกว่า โดยค่าดังกล่าวไม่ค่อยปรากฏมากนักในเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | กรดแล็กติกในเลือด | th_TH |
dc.subject | การออกกำลังกาย | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.subject | อะมีเลส | th_TH |
dc.subject | อัตราการเต้นของหัวใจ | th_TH |
dc.title | ปริมาณน้ำ อะไมเลส ค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำลาย และกรดแลคติกในเลือด ขณะออกกำลังกายที่ความหนัก 70% อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 1 | |
dc.volume | 4 | |
dc.year | 2549 | |
dc.description.abstractalternative | Exercise intensity is the key factor of success in an exercise program. Previous research had shown that exercise at moderate level, i.e. 70% maximum heart rate (MHR) led to desirable Improvement in physical fitness parameters. At present various factors were studied and used as Indicators for exercise intensity. There may be some other indicators to reflect exercise intensity Especially the saliva which is well known to change in response to exercise intensity. Thus the Primary purposes of this particular research were to study water and amylase contents. pH value Of saliva, and blood lactate during exercise at 70% MHR and to develop a prediction equation of Salivary amylase from saliva water content and blood lactate. Subjects were fifteen healthy male College students (age ranging from 18-25 years) randomly selected from a group of volunteers. At rest, blood and saliva were collected from subjects for analysis of water, pH and amylase value of saliva and blood lactate. In the exercise phase, the subject started with 5 minutes walk-jog on the treadmill following Wilson protocol until the subject heart rate reached 70% MHR. At that Intensity, again same amount of blood and same amount of saliva was collected. Analyses of all parameters were made in the same manner as pre-exercise. Result showed that at 70% MHR water and amylase contents of saliva were 0.871 g/cc. and 311, 160 U/L respectively. Salivary pH Value was 6.86 while blood lactate was 2.8 mmol/l. A prediction equation for salivary amylase content was developed, i.e. amylase content during exercise at 70% MHR = 2093088.313-17625.083 x(blood lactate)- 1478509.995 x (salivary water content). The existing data led To an establishment of values of salivary water and amylase contents during exercise at 70% MHR and a prediction equation for amylase value-the parameter not often found in literature. | en |
dc.journal | วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา | |
dc.page | 1-8. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น