กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2778
ชื่อเรื่อง: ผลการให้คำปรึกษาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อความเข้มแข็งทางจิตใจและความสามารถทางการกีฬา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
สมโภชน์ อเนกสุข
สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การให้คำปรึกษา
การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
ความสามารถทางกีฬา
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
โปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส
วันที่เผยแพร่: 2551
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อความเข้มแข็งทางจิตใจและความสามารถทางการกีฬา การวิจัยเชิงทดลองนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Multifactor experiments Having Repeated Measures on The Same Elements: Three -Factor Experiment with repeated measures (case 2) กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักกีฬาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนกีฬาที่ได้ทำแบบสอบถามความเข้มแข้งทางจิตใจ ฉบับภาษาไทย ที่มีคะแนนความเข้มแข็งทางจิตใจในระดับตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 50 ลงมาที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 36 คน กลุ่มตัวอย่างแบ่งระดับความสามารถสูงและต่ำในการปาเป้าออกเป็นกลุ่มละ 18 คน แล้วจึงสุ่มตัวอย่างกลุ่มอย่างง่าย เพื่อจำแนกออกเป้นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสทางเทคนิคสัญญาณพลังแบบองค์รวม กลุ่มที่ได้รับการให้คำปรึกษาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสเทคนิคสรา้งการเปลี่ยนแปลง และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 12 คน โดยแต่ละกลุ่มแบ่งระดับความสามารถสูงกลุ่มละ 6 คน และระดับความสามารถต่ำกลุ่มละ 6 คน เก็บคะแนนจากแบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจ และคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการปาเป้าก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ภายหลังการทำลองลักษณะของการให้คำปรึกษาเทคนิคสัญญาณพลังแบบองคืรวมและเทคนิคสร้างการเปลี่ยนแปลง มีผลต่อความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬากลุ่มทดลองในระยะติดตามผลแตกต่างกัน และความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการกับระยะเวลาส่งผลร่วมกันในระยะติดตามผล แต่ระหว่างนักกีฬากลุ่มที่ได้รับคำปรึกษาด้วยเทคนิคสัญญาณพลังแบบองค์รวม และเทคนิคสรา้งการเปลี่ยนแปลงที่มีระดับสรา้งความสามารถทางการกีฬาสูงและต่ำมีความเข้มแข็งทางจิตใจไม่แตกต่างกัน นักกีฬากลุ่มที่ได้รับการให้คำปรึกษาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสด้วยเทคนิคสัญยาณพลังแบบองค์รวม และเทคนิคสรา้งการเปลี่ยนแปลง มีความเข้มแข็งทางจิตใจในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง สำหรับความสามารถในการปาเป้าของนักกีฬากลุ่มที่ได้รับการให้คำปรึกษาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสเทคนิคสัญญาณพลังแบบองค์รวม กลุ่มเทคนิคสร้างการเปลี่ยนแปลง และกลุ่มควบคุม พบว่าไม่แตกต่างกัน ความสามารถในการปาเป้าระหว่างนักกีฬาระดับความสามารถทางการกีฬาสูงและต่ำแตกต่างกันตามระยะเวลาของการทดลองโดยไม่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่น และความสามารถในการปาเป้าโดยรวมของนักกีฬาทั้งสามกลุ่มมีพัฒนาการตามระยะเวลาของการทดลอง ซึ่งพบว่าระยะก่อนการทดลองมีความแตกต่างกับระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล แต่ระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน สมการจำแนกกลุ่มนักกีฬาตามระดับความสามารถในการปาเป้า คือ D = -8.99+.20 ของคะแนนเฉลี่ยระยะก่อนการทดลองปาเป้า +.08.9 ของคะแนนเฉลี่ยระยะติดตามผลการปาเป้า The purpose of the present study was to examine of Neuro-Linguistic programing (NLP), GA and GC techniques, on mental toughness and darting performance. Using multifactor experiments with repeated measures on the same elements: Three- factor Experiment with repeated measures (Case 2) of 36 highs school athletes from a sport school with percentile equal to or under 50 were initially responded to the mental toughness test developed by Julvanichpong, Vongiaturapat & Julvanichpong (in press). There volunteered subjects then were equally divided into two experimental groups and one control with high and low darting performance. The data from mental toughness scale and darting performance before and after 7 weeks of having GA and GC techniques and 4 weeks after the treatment ended were used for study analysis. The statistical analysis revealed that GA and GC techniques have an effect on mental toughunee only during the follow up period. Interaction between NLP techniques and time of data collection was also found during the follow up test. GA and GC techniques showed no significantly different effect. Mental toughness scores were significantly different between before and after the treatment ended. Darting performance was partly significantly effect by the GA and GC techniques. Specially, only pre and post darting performance testes were significantly different. The discriminant function by athlete performance is (D) equal to -8.99+.20 predart +.09 followdart.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2778
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
17-33.PDF24.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น