กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2772
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของการฝึกสอนและการใช้แหล่งความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนในกีฬาบาสเกตบอล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between coaching style and sources of self-efficacy in basketball |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร พิชญาวีร์ ภานุรัชต์ฐนนท์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | การฝึกสอน กีฬา - - แง่จิตวิทยา ความสามารถทางกีฬา ความเชื่อมั่นในตนเอง บาสเกตบอล สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป้นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสอบถามความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตน เพื่อศึกษารูปแบบของการฝึกสอนกีฬา การใช้แหล่งที่มาของความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตน และความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของการฝึกสอนกีฬากับการใช้แหล่งที่มาของความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนในกีฬาบาสเกตบอล ข้อมูลได้จากการตอบแบบสอบถาม จากผู้ฝึกสอนกีฬาบาสเกตบอลในประเทศไทย จำนวน 205 คน โดยแบ่งเป็นผู้ฝึกสอนชาย จำนวน 142 คน และผู้ฝึกสอนหญิง จำนวน 63 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ฝึกสอนกีฬาบาสเกตบอลส่วนมากเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาแบบฝึกและสอน ซึ่งเน้นการสอนและการปฏิบัติทักษะ มากกว่า รูปแบบของการฝึกสอนแบบประชาธิปไตย และแบบสนับสนุนทางสังคม ส่วนการฝึกสอน แบบชมเชยหรือเน้นการให้รางวัลเป็นรูปแบบการฝึกสอนแบบชมเชยหรือเน้นการให้รางวัลเป้นรูปแบบการฝึกสอนที่มีจำนวนน้อยที่สุด และผู้ฝึกสอนกีฬาบาสเกตบอลในประเทศไทย ไม่มีรูปแบบของการฝึกสอนแบบเผด็จการ 2) วิะีการสรา้งความเชื่อมั่นในตนเองที่ผู้ฝึกสอนนำมาใช้กับนักกีฬาและทำให้นักกีฬามีความเชื่อมั่นในตนเองมากที่สุด คือ การชักจูงด้วยคำพูดส่วนการกระตุ้นทางอารมณ์และการกระตุ้นทางสรีรวิทยา เป็นวิธีที่ผู้ฝึกสอนนำมาใช้กับนักกีฬาน้อยที่สุด 3) รูปแบบของผู้ฝึกสอนกีฬาบาสเกตบอลในแบบฝึกและสอน แบบสนับสนุนทางสังคม และแบบชมเชยหรือเน้นการให้รางวัล ใช้วิธีการชักจูงด้วยคำพูดเป็นอันดับแรก ส่วนวิธีการกระตุ้นทางอารมณ์และวิธีการกระตุ้นทางสรีรวิทยา ผู้ฝึกสอนจะเลือกนำมาใช้เป้นลำดับสุดท้าย 4) ความสัมพันธ์ของรูปแบบการฝึกสอนในการใช้แหล่งความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตน รูปแบบฝึกและสอนมีความสัมพันธ์กับรูปแบบชมเชยหรือเน้นการให้รางวัล และรูปแบบประชาธิปไตย์ มีความสัมพันธ์กับรูปแบบสนับสนุนทางสังคม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2772 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น