กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2763
ชื่อเรื่อง: | แรงจูงใจและความพึงพอใจของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังใน การปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์กรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of motivation and satisfaction of the Laem Chabang Port Customs Bureau Office in working under strategy plans 2008-2010 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิตติวัฒน์ วัฒนานันทพัฒน์ ศรายุทธ โชคชัยวรรัตน์ เบญจวรรณ สร่างนิทร สมชาย ชุณรัศมิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความพึงพอใจ แรงจูงใจ สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อมูลพื้นฐานระดับแรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานปัญหาในการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในสำนักงานศุลกากรแหลมฉบัง กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติงานจำนวน 300 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้สถิตใช้เป็นหาแบบ X, SD สถิตที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน คือ t-test , F-test โดยมีวัตถุประสงค์งานวิจัย 1. เพื่อทำการศึกษาระดับแรงจูงใจของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์กรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555) 2. เพื่อทำการศึกษาระดับความพึงพอใจของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์กรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555) 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ในการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์กรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555) ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 160 คน มีอายุมากกว่า 30-40 ปี สถานภาพโสด รายได้ ต่อเดือนส่วนใหญ่ อยู่ที่ 10,000-20,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี อายุรับราชการ อยู่ 1-10 ปี และมีระดับปฏิบัติงานในระดับเจ้าหน้าที่ ผลการวิจัยพบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการศุลกากรที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ด้านลักษณะงาน (X = 3.36, SD = 0.87) ด้านความก้าวหน้าในงาน (X = 3.23, SD = 0.97) และด้านรายได้และสวัสดิ์การ (X = 3.20, SD = 0.85) จากการวิจัยยังพบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการศุลกากรที่อยู่ในระดับมากซึ่งได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ( X= 3.65, SD = 0.83) ด้านการยอมรับ (X = 3.57, SD = 1.09) ด้านการได้รับความสำเร็จ ในงาน (X = 3.77, SD = 0.67) ด้านนโยบายและการบริหารงาน (X = 3.54, SD = 0.80) ด้านสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน (X = 3.60, SD = 0.82) ด้านความมั่นคงในงาน ( X= 3.62, SD = 0.82) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (X = 3.40, SD =0.77)ส่วนด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555) อยู่ระดับ มาก ได้แก่ ด้านการพัฒนามาตรการทางศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ (X = 3.51, SD = 0.80) ด้านการพัฒนาศักยภาพการควบคุมทางศุลกากรด้วยมาตรฐานสากล (X = 3.42, SD = 0.87) ด้านบริหารจัดการระบบจัดเก็บภาษีอากรโดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (X = 3.47, SD = 0.88) ส่วนในด้านยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบงานศุลกากรให้เป็นมาตรฐานโลก (X = 3.25, SD = 0.82) พบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานในด้านแรงจูงใจพบว่า ลักษณะบุคคล เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ การศึกษา ระดับการปฏิบัติงาน ไม่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติตาม เป้าหมายที่กรมศุลกากร ในขณะที่ อายุราชการที่ปฏิบัติงานในศุลกากรมี ผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ส่วนด้านความพึงพอใจ พบว่า ลักษณะบุคคล เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ การศึกษา อายุราชการที่ปฏิบัติงานในศุลกากร ไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ในขณะที่ ระดับการปฏิบัติงานมีผลต่อความพึงใจในการปฏิบัติงาน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2763 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
mba8n2p51-65.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น