กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2750
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการนำหน่วยธุรกิจวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The roadmap for graduate school of commerce, Burapha university to be listed company in market for alternative investment (mai) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เพ็ญพิชชา เกษมพงษ์ทองดี บรรพต วิรุณราช มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) สาขาเศรษฐศาสตร์ หน่วยธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทาง ขั้นตอน และช่องทางการระดมทุนในการจดทะเบียนบริษัทของหน่วยธุรกิจวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต แบบ EDFR กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ด้านการจัดการมหาวิทยาลัยในกำกับ ด้านกฎระเบียบของภาครัฐ ด้านตลาดทุนและด้านการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัย จำนวนผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์รอบที่ 1 จำนวน 30 ท่าน ส่วนรอบ 2 และ รอบ 3 คงเหลือจำนวนผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 27 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการจดทะเบียนบริษัทของหน่วยธุรกิจวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 พบ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การดำเนินการจะต้องทำธุรกิจภายใต้วัตถุประสงค์ของวิทยาลัย นำรายได้มาพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบกิจการลักษณะที่จะไม่แข่งขันกับภาคเอกชน ผู้บริหารจะต้องไม่มีความทับซ้อนของผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย สินค้าควรเน้นประเภท วิชาการ งานวิจัย การนำทรัพย์สินทางปัญญามาสร้างนวัตกรรมสินค้า 2) ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทของหน่วยธุรกิจวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ เริ่มจากการนำเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท เทาทองทรัพย์สิน จำกัด ในอัตราส่วน 1:1 หรือจัดตั้งสมาคมก่อน หรือจากการรับบริจาคทรัพย์สินจาก ภาคเอกชน การเตรียมตัวใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ภายใต้ทุนจดทะเบียนมากกว่า 20 ล้านบาท เมื่อได้รับการอนุมัติเป็นบริษัทมหาชนจึงกระจายหุ้นและขายหลักทรัพย์ โดยบริษัทควรถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50 และกันส่วนไว้กับผู้ที่จะถือหุ้นไว้ โดยไม่ขายหุ้นมากกว่าร้อยละ 2 เพื่อบริหารความเสี่ยงที่จะถูกโอนถ่ายกรรมสิทธิ์ และมหาวิทยาลัยรับการแบ่งผลกำไร จากบริษัทจดทะเบียนในรูปเงินปันผล ตามจำนวนหุ้น และนำรายได้ไปพัฒนาการศึกษา 3) ช่องทางการระดมทุน ได้แก่ เงินลงทุนจากรายได้ทุกประเภทที่วิทยาลัยสามารถจัดหามาได้รวมถึงเงินบริจาค หรือแหล่งเงินทุนจากการยืมของคณะอื่น ๆ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2750 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
mba9n2p68-80.pdf | 755.19 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น