กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2744
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
dc.contributor.authorพรนภา หอมสินธุ์
dc.contributor.authorชฎาภรณ์ กลิ่นกุหลาบ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:49Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:49Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2744
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคผักและผลไม้ และปัจจัยทำนายการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ใน อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง จำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่านักเรียนประถมศึกษารับประทานผักและผลไม้สัปดาห์ละ 3 - 4 วัน ส่วนใหญ่จะรับประทานผักบ่อยกว่ารับประทานผลไม้ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทำนาย พบว่าการบริโภคผักและผลไม้ของบิดาและมารดา/ ผู้ปกครอง (β = .306) การบริโภคผักและผลไม้ของกลุ่มเพื่อน (β =.204) การเข้าถึงแหล่งที่เอื้อต่อการบริโภคผักและผลไม้ (β =.189) ทัศนคติต่อการบริโภคผักและผลไม้ (β =.188) และความชอบส่วนบุคคลในการบริโภคผักและผลไม้ (β =.120) สามารถร่วม ทำนายการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาได้ ร้อยละ 42.7 โดยที่การบริโภคผักและผลไม้ ของบิดาและมารดา/ผู้ปกครองเป็นตัวแปรทำนายสูงสูดของการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่าการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนรับประทานผักและผลไม้ ควรเน้นการสร้างต้นแบบจากครอบครัวและเพื่อน การจัดระบบสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียน รวมทั้งการส่งเสริมให้เด็กมีทัศนคติที่ดีและความชอบส่วนบุคคลต่อการบริโภคผักและผลไม้th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectนักเรียนประถมศึกษา - - โภชนาการth_TH
dc.subjectบริโภคกรรมth_TH
dc.subjectโภชนาการth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleปัจจัยทำนายการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทองth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume9
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThis predictive correlation research was aimed to explore fruit and vegetable consumption and predictive factors of fruit and vegetable consumption among grade 6 primary school students. The participants of study were 238 grade 6 primary school students in Pa Mok District, AngThong province. The self-administered questionnaires were used as an instrument. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient and Stepwise Multiple Regression. Results from this study revealed that students reported having fruit and vegetable 3- 4 day/week. Most of them had consumed vegetable more frequently than fruit. Stepwise multiple regression showed that parental consumption of fruits and vegetables (β = .306); friend consumption of fruits and vegetables (β =.204); accessibility of fruits and vegetables (β =.189); attitude toward fruit and vegetable consumption (β =.188); and personal preferences of fruit and vegetable consumption (β =.120) accounted for 42.7% of variation in consumption of fruit and vegetable. Parental consumption of fruits and vegetables was the strongest predictive factor of consumption of fruits and vegetables in grade 6 primary school students. These results suggested that promoting consumption of fruits and vegetables in school-age children should address role models of their parents and friends; reforming home and school environment; and enhancing positive attitudes and personal preference towards fruit and vegetable consumption.en
dc.journalวารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา = The public health journal of Burapha University.
dc.page45-55.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
pubh9n2p45-55.pdf1.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น