กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2740
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความมั่นใจในความสามารถของมารดาในการล้างจมูกบุตรผู้ป่วยที่มีน้ำมูกคั่งค้าง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of the perceived self-efficacy promotion program on maternal confidence to perform nasal irrigation for children with retained nasal secretion |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัตนรัตน์ ธนเจริญชนันชัย นุจรี ไชยมงคล ยุนี พงศ์จตุรวิทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความสามารถในตนเอง ความเชื่อมั่น จมูก - - การดูแลและสุขวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความมั่นใจในความสามารถของมารดาในการล้างจมูกบุตรป่วยที่มีน้ำมูกคั่งค้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่มีอาการน้ำมูกคั่งค้างจากโรคต่าง ๆ ของระบบทางเดินหายใจที่มารับบริการตรวจรักษาแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 60 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบจำแนกกลุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความมั่นใจในความสามารถของมารดาในการล้างจมูกบุตรป่วย สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในความสามารถสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t29 = 16.93, p < .001) และภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 สัปดาห์ มารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในความสามารถสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t29 = 22.36, p < .001) และคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในความสามารถของมารดาในกลุ่มทดลองภายหลังสิ้นสุดการทดลองทันทีและภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 สัปดาห์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t58 = 12.85, p < .001; t58 = 16.77, p < .001 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าพยาบาลที่ให้การดูแลเด็กควรนำโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนนี้ไปใช้กับมารดาในการดูแลบุตรป่วยที่มีน้ำมูกคั่งค้าง เพื่อให้มารดามีความมั่นใจในความสามารถในการล้างจมูกบุตรป่วยที่มีน้ำมูก คั่งค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2740 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น