กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2740
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรัตนรัตน์ ธนเจริญชนันชัย
dc.contributor.authorนุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.authorยุนี พงศ์จตุรวิทย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:49Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:49Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2740
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความมั่นใจในความสามารถของมารดาในการล้างจมูกบุตรป่วยที่มีน้ำมูกคั่งค้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่มีอาการน้ำมูกคั่งค้างจากโรคต่าง ๆ ของระบบทางเดินหายใจที่มารับบริการตรวจรักษาแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 60 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบจำแนกกลุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความมั่นใจในความสามารถของมารดาในการล้างจมูกบุตรป่วย สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในความสามารถสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t29 = 16.93, p < .001) และภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 สัปดาห์ มารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในความสามารถสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t29 = 22.36, p < .001) และคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในความสามารถของมารดาในกลุ่มทดลองภายหลังสิ้นสุดการทดลองทันทีและภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 สัปดาห์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t58 = 12.85, p < .001; t58 = 16.77, p < .001 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าพยาบาลที่ให้การดูแลเด็กควรนำโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนนี้ไปใช้กับมารดาในการดูแลบุตรป่วยที่มีน้ำมูกคั่งค้าง เพื่อให้มารดามีความมั่นใจในความสามารถในการล้างจมูกบุตรป่วยที่มีน้ำมูก คั่งค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectความสามารถในตนเองth_TH
dc.subjectความเชื่อมั่นth_TH
dc.subjectจมูก - - การดูแลและสุขวิทยาth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความมั่นใจในความสามารถของมารดาในการล้างจมูกบุตรผู้ป่วยที่มีน้ำมูกคั่งค้างth_TH
dc.title.alternativeEffects of the perceived self-efficacy promotion program on maternal confidence to perform nasal irrigation for children with retained nasal secretionen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume22
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research design aimed to study the effects of the perceived self-efficacy promoting program on maternal confidence to perform nasal irrigation for children with retained nasal secretion. The sample included 60 mothers of children with various respiratory problems retained nasal secretions who received services from the Somdejpranagchao Sirikit Naval Hospital Pediatrics Department, Chonburi. The samples were random assigned into experimental and control groups which were 30 equally. The experimental groups received the perceived self-efficacy promoting program while the control group received regular nursing care. The instruments were demographic questionnaire and questionnaires of maternal confidence to perform nasal irrigation for children with retained nasal secretion. Data were analyzed by using the descriptive statistics and the t-test. The results revealed that after receiving the perceived self-efficacy promoting program, the mean score of maternal confidence to perform nasal irrigation was significantly higher than those before receiving the program (t29 = 22.36, p < .001). and one week after completing the program, the score of maternal confidence to perform nasal irrigation was significantly higher than before receiving the program (t29 = 16.93, p < .001). Moreover, the mean score of maternal confidence to perform nasal irrigation of experimental group after completing the program and one week after completing the program were significantly higher than those the control group (t58 = 12.85, p < .001; t58 = 16.77, p < .001, respectively). These findings suggest that pediatric nurses care for children should apply the perceived self-efficacy promoting program to promote maternal confidence in performing nasal irrigation for their children in order to enhance maternal confidence in caring for their children with retained nasal secretion effectively.en
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University.
dc.page28-38.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
28-38.pdf1.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น