กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2736
ชื่อเรื่อง: | สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Situation problems and guidelines for developing service of registrar's office, Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภารดี อนันต์นาวี เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม ลักษณ์มี จิรวัฒนธรรม |
คำสำคัญ: | กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา บริการลูกค้า. บริการของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันอุดมศึกษา สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ สภาพ และปัญหาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา และศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ และด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบสภาพการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัญหาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านความน่าเชื่อถือ ยกเว้นด้านความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับน้อย 4. เปรียบเทียบปัญหาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศโดยรวม ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. แนวทางการพัฒนาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ได้แก่ 1) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ความเพิ่มจำนวนที่นั่งรอรับบริการ 2) ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ เจ้าหน้าที่ควรฝึกทักษะในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ขอรับบริการเข้าใจได้ง่าย 3) ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับจำนวนผู้รับบริการ 4) ด้านความน่าเชื่อถือ เจ้าหน้าที่ให้บริการควรมีการหมุนเวียนงานเพื่อให้สามารถทำงานแทนกันได้ และ 5) ด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่ควรให้คำแนะนำแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในแบบกัลยาณมิตรและควรเปิดใจรับฟังข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นของผู้มาใช้บริการ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2736 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edusoc9n2p139-150.pdf | 661.79 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น