กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2730
ชื่อเรื่อง: ผลร่วมระหว่างเสียงและการสูบบุหรี่ที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินของพนักงานในอุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
ภูวสิทธิ์ สิงหภูมิ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การสูบบุหรี่
การได้ยิน
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
หูหนวก
อุตสาหกรรมหลอมโลหะ - - ไทย - - ชลบุรี
เสียง
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลร่วมระหว่างเสียงและการสูบบุหรี่ ที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินของพนักงานในอุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี รูปแบบของการวิจัยเป็นแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานในอุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี จำนวน 437 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยประกอบไปด้วย แบบสอบถามเครื่องวัดเสียง เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม และเครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน สถิติที่ใช้ได้แก่จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไค-สแควร์ (chi-square test) และการวิเคราะห์ถดถอยแบบลอจิสติก (multiple logistic regression analysis) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 27.2 ปี ร้อยละ 51.7 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 66.8 รับสัมผัสเสียงตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 33.2 ที่รับสัมผัสเสียงน้อยกว่า 85 dB(A) การศึกษาความสัมพันธ์พบว่าการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ที่สูบบุหรี่นั้นจะมีโอกาสสูญเสียการได้ยินมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 11.91 เท่าโดยจะมีโอกาสเกิดการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้นระหว่าง 7.17-19.78 เท่าที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลร่วมของการรับสัมผัสเสียงและการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการ สูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการรับสัมผัสปัจจัยร่วมนั่นคือรับสัมผัสเสียงตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้นไป และสูบบุหรี่จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้น 7.76 เท่าของพนักงานที่รับสัมผัสเสียงต่ำกว่า 85 dB(A) และไม่สูบบุหรี่โดยจะมีโอกาสเกิดการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้นระหว่าง 4.10-14.68 เท่า ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลที่ได้จากการวิจัยทำให้ทราบว่าบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในพนักงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะ จึงควรมีการประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2730
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
pubh8n2p92-100.pdf543.51 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น