กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/272
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุดารัตน์ สวนจิตรth
dc.contributor.authorอภิรดี ปิลันธนภาคย์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:23Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:23Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp//dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/272
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมี คุณภาพทางจุลชีววิทยาและคุณภาพทางประสาทสัมผัส ของหอยนางรมสดแกะเปลือกที่ผ่านการดัดแปรสภาวะการเก็บรักษา โดยแช่ในสารละลายต่างๆ กัน 5 สภาวะ ได้แก่ การแช่ในสารละลายโพแทสเซียมซอร์เบตเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ (Ps), การแช่ในสารละลายโซเดียมแล็กเตตเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ (Sl), การแช่ในสารละลายผสมระหว่างสารละลายโซเดียมแล็กเตตเข้มข้น 1.5 เปอร์เซ็นต์ และสารละลายโพแทสเซียมซอร์เบตเข้มข้น 1.5 เปอร์เซ็นต์ (SP1), การแช่ในสารละลายผสมระหว่างสารละลายโซเดียมแล็กเตตเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ และสารละลายโพแทสเซียมซอร์เบต เข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ (SP2) และการแช่ในน้ำประปา (C) แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4+1 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า หอยนางรมสดแกะเปลือกที่ใช้สภาวะการแช่แบบ SP2 มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมีน้อยที่สุด (p <0.05) โดยมีปริมาณ TVB-N และ TMA-N ต่ำกว่าชุดการทดลองอื่นๆ ส่วนของค่าความเป็นกรดด่างนั้นอยู่ในช่วงที่หอยยังสดอยู่ (pH 6.-5.9) ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 7 วัน อย่างไรก็ตามปริมาณเกลือในการทดลองนี้ ไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจนในทุกชุดการทดลอง ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 7 วัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางจุลชีววิทยาของหอยนางรมสดแกะเปลือกที่ใช้สภาวะการแช่แบบ SP2 นั้นเกิดขึ้นต่ำกว่าหอยนางรมที่ใช้สภาวะการเก็บรักษาแบบอื่นเช่นกัน เมื่อพิจารณาจากจำนวนจุลินทรีย์ไม่เกิน 10(6) cfu/g พบว่าหอยนางรมสดแกะเปลือกที่ใช้สภาวะการแช่แบบ Ps, SP1 และ SP2 สามารถเก็บรักษานานมากกว่า 8 วัน ในขณะที่สภาวะการแช่แบบ Sl และตัวอย่างควบคุมสามารถเก็บรักษานาน 8 วัน และการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางประสาทสัมผัสสอดคล้องกัน โดยพบว่า หอยนางรมสดแกะเปลือกที่ใช้สภาวะการแช่แบบ SP2 มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางประสาทสัมผัสน้อยที่สุด และมีการยอมรับสูงกว่าสภาวะการแช่แบบอื่นๆ ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาโดยเก็บรักษาได้ 7 วัน หอยนางรมที่ใช้สภาวะการแช่แบบ Sl และ SP1 เก็บรักษาได้ 5 วัน หอยนางรมที่ใช้สภาวะการแช่แบบ Ps เก็บรักษาได้ 4 วัน เปรียบเทียบกับตัวอย่างชุดควบคุมมีอายุการเก็บรักษานาน 2 วัน The purposes of this study was to investigate chemical, microbiological and sensory qualities of sucked fresh oyster (Saccostrea cucullata) used modified storage conditions by mixed solution soaking in varied as these following; 3% potassium sorbate (Ps), 2.5% sodium lactate (Sl), 1.5% sodium lactate and 1.5% potassium sorbate (SP1), 3% sodium lactate and 2.5% potassium sorbate (SP2) and tab water (control) at 4+1 C. It was found that in chemical qualities of SP2 storaged samples was the lowest changes (p <0.05), which TVB-N and TMA-N values were higher than those storage conditions. Furthermore, pH of this conditions was in the ranger of fresh oyster pH (6.2-5.9) throughout the storage of 7 day. However, the salt content in all storage conditions had not clear trend throughout the storaged of 7 day. About microbiological qualities, it also was found that in SP2 storage samples had the lowest changes and shelf-life of Ps, SP1 and SP2 storaged samples was more than 8 day. In Sl and control storaged samples was 8 day refer the criteria of microbiology is less than 10(6) cfu/g. Sensory qualities of SP2 storaged samples was the lowest changes and acceptable than those storaged conditions in other samples throughout the storaged of 7 day. Sl and SP1 was 5 days storaged and Ps was 4 days compared with 2 days for control sample.th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2552en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการปนเปื้อนth_TH
dc.subjectหอยนางรมth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการใช้ปฏิกริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์ในการตรวจสอบ Vibrio parahaemolyticus และ Vibrio vulnificus โดยตรงในหอยนางรม บริเวณอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี.th_TH
dc.title.alternativeMutiplex polymerase chain reaction for direct detection of Vibrio parahaemolyticus and Vibrio vulnificus in oysters from Angsila, Chonburi provinceen
dc.typeงานวิจัย
dc.year2552
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น