กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2727
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ยุวดี รอดจากภัย | |
dc.contributor.author | ฐิติพร จิตตวัฒนะ | |
dc.contributor.author | สุรัตน์ ไชยชมภู | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:18:48Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:18:48Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2727 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มุ่งเพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา และ หาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านการวิจัย โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเก็บข้อมูลเฉพาะคณะ/วิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน จังหวัดชลบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริหารงานวิชาการที่รับผิดชอบงานวิจัยระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้บริหารงานวิชาการที่รับผิดชอบงานวิจัยระดับส่วนงาน ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา จำนวน 9 คน ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการบริหารงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา มีคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการผลิตผลงานวิจัย และมีคณะกรรมการระดับส่วนงานทำหน้าที่บริหารจัดการให้เกิดผลงานวิจัยในส่วนงาน รวมถึงการมีหน่วยงานส่งเสริมการวิจัยและบัณฑิตศึกษาเป็นหน่วยงานกลางที่ให้การสนับสนุนการทำวิจัย และประสานงานด้านงานส่งเสริมการวิจัยกับส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย แนวทางสำคัญในการพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย คือ สร้างวัฒนธรรมและค่านิยมให้บุคลากรเน้นการวิจัยมากกว่าการจัดการเรียนการสอน และมีข้อเสนอแนะว่ามหาวิทยาลัยควรมีแนวทางในการบริหารงบประมาณเพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการให้บริการทางการศึกษาในด้านอื่นมากกว่าการจัดการเรียนการสอน อันเป็นการช่วยลดภาระงานสอนของคณาจารย์ส่งผลให้มีเวลาทำวิจัยเพิ่มขึ้น ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการวิจัยควรมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือในการวิจัยและการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการระดมทุนในการสนับสนุนการทำวิจัยทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนอันจะเป็นการช่วยสร้างเครือข่ายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ได้จริง และมีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) สาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยตามกลุ่มสาขาวิชาและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน This research aims to study the present situation of Burapha University’s research administration and seek for ways to improve its efficiency. The author has studied and collected data from those Faculties at Burapha University, Bang Saen, Chonburi, that offer Post Graduate courses. A number of qualitative research methods have been used in this study, including a literature review, an in-depth interview focusing on 2 individuals responsible for University level research administration and a focus group comprised of 9 of those in charge on the faculty level from 3 subject groups. Data triangulation has been used along with the content analysis technique. The study shows that Burapha University’s research administration is exercised via the Research Promotion Committee responsible for devising policy and steering the research direction. At faculty level, there exists a similar committee responsible for research outcome management. There is also a Research Promotion Unit acting as a central organization to support the research and help coordinate with other organization both inside and outside the university. An important direction for the university to become a research university is to create a culture and core value for all academic faculties emphasizing more on research than teaching. It is also suggested that the university develop a strategy to generate revenue from academic services to compensate for that from the tuition fees. This will reduce the faculties’ teaching load and hence allow more time dedicated for research. The main objectives of research funds should emphasize on equipment investment and international conference travel grants as well as attract funding from both government and non-government and promote the use of research outcomes for real implementation. Establishing centers of excellence to expand the research capability and share resources are also suggested. | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา - - การบริหาร | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | วิจัย | th_TH |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา - - การบริหาร | th_TH |
dc.subject | สาขาการศึกษา | th_TH |
dc.title | สภาพการบริหารงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 9 | |
dc.year | 2557 | |
dc.journal | วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development | |
dc.page | 151-161. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edusoc9n2p151-161.pdf | 609.59 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น