กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2716
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of learning activity management on social studies, religion, and cultural subject on constructivism theory for Prathomsuksa 6th students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
ศุภชัย สมนวล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ทฤษฎีสรรคนิยม
สังคมศึกษา - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
สังคมศึกษา - - กิจกรรมการเรียนการสอน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะ กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของกลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมกับกลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี จำนวน 2 ห้องเรียนๆ ละ 32 คน รวม 64 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม แผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของกลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม และกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนของกลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการคิดอย่างมี วิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2716
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc9n1_10.pdf802.82 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น