กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2714
ชื่อเรื่อง: | การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่เขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Social welfare for taxi cooperatives' drivers in Bangkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมหมาย แจ่มกระจ่าง ภคพนธ์ ศาลาทอง รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คนขับรถแท็กซี่ คุณภาพชีวิตการทำงาน บริการสังคม สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน สภาพและความต้องการจัดสวัสดิการสังคม กลไกสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคม รวมถึงรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของกลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามกลุ่ม คนขับรถสหกรณ์แท็กซี่เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สนทนากลุ่มกับผู้แทนกลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 10 คน รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาแรงงานนอกระบบและการจัดสวัสดิการสังคม จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ไม่มั่นคงและปลอดภัย เมื่อเจ็บป่วยจะดูแลตนเองด้วยการหยุดพักผ่อนและรับประทานยา ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะความรู้ ส่วนมากมักมีปัญหาหรือความขัดแย้งกับผู้ร่วมอาชีพและผู้รับบริการ แต่มีความภาคภูมิใจในอาชีพที่ทำและได้รับการยอมรับทางสังคม สำหรับสภาพการจัดสวัสดิการสังคม ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการด้านการประกันสังคม โดยเฉพาะสวัสดิการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือคลอดบุตร รองลงมาเป็นด้านการช่วยเหลือทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์และช่วยเหลือเงินกู้ฉุกเฉิน และสุดท้ายด้านบริการสังคมเกี่ยวกับการจัดบริการตรวจสุขภาพประจำปี ส่วนความต้องการจัดสวัสดิการสังคม พบว่าให้ความสำคัญกับความต้องการด้านการมีชีวิตอยู่รอด โดยเฉพาะความต้องการจัดสวัสดิการประกันสังคม รองลงมาเป็นความต้องการด้านความเจริญก้าวหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการกองทุนพัฒนาอาชีพ และสุดท้ายความต้องการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เกี่ยวกับจัดสวัสดิการคุ้มครองความปลอดภัยในอาชีพ กลไกสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคม พบว่าควรคำนึงถึงสภาพและความต้องการจัดสวัสดิการสังคม รวมทั้งหลักการจัดสวัสดิการสังคม ประกอบด้วย การจัดสวัสดิการสังคมตามพื้นที่การจัดสวัสดิการสังคมตามวิธีการ การจัดสวัสดิการสังคมตามการเคลื่อนไหวทางสังคม และการจัดสวัสดิการสังคมโดยสถาบัน ทั้งนี้คำนึงถึงสิทธิความเสมอภาค ความเท่าเทียมทางโอกาส โดยใช้กลไกระดับนโยบาย ระดับการบริหารจัดการ และระดับการดำเนินงานในการสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมของกลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่ รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคม พบว่ามี 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเชิงทฤษฎีหรือหลักการ ประกอบด้วย การจัดสวัสดิการสังคมระดับชาติ การจัดสวัสดิการสังคมระดับท้องถิ่น การจัดสวัสดิการสังคมระดับเอกชนหรือสถานประกอบการ และการจัดสวัสดิการสังคมระดับกลุ่ม และรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเชิงปฏิบัติหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน ได้แก่ การจัดสวัสดิการเพื่อความมั่นคงทางอาชีพเหมาะสำหรับคนขับรถแท็กซี่ที่ไม่ใช่สมาชิกของสหกรณ์รถแท็กซี่ และการจัดสวัสดิการเพื่อความก้าวหน้าทางอาชีพ เหมาะสำหรับคนขับรถแท็กซี่ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์รถแท็กซี่ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2714 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edusoc9n1_7.pdf | 986.16 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น