กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2708
ชื่อเรื่อง: | ผลการฝึกระดับเบาร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีนที่มีต่อการเผาผลาญแหล่งพลังงาน มวลไขมัน และปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of low-intensity exercise training and L-carnitine supplement on substrate oxidation, fat mass and maximal oxygen consumption |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประทุม ม่วงมี อภิญญา อิงอาจ มนต์ชัย อินทเรือง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | การออกกำลังกาย การใช้ออกซิเจน (สรีรวิทยา) แอล-คาร์นิทีน สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกระดับเบาที่ความหนักของงาน 45%VO2max ร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีน 2 กรัม/ วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ที่มีต่อการเผาผลาญแหล่งพลังงานมวลไขมัน และปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยบูรพา อายุระหว่าง 19-22 ปี จำนวน 32 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 8 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกระดับเบาร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีน กลุ่มที่ 2 ฝึกระดับเบาร่วมกับ การให้สารหลอก กลุ่มที่ 3 ฝึกระดับเบา และกลุ่มที่ 4 กลุ่มควบคุม ทดสอบวัดค่าตัวแปรการเผาผลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรตมวลไขมัน และปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด ในช่วงก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง นำผลมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้ paired samples t-test, repeated MANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของ Scheffe โดยนัยสำคัญทางสถิติกำหนดไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า มีค่าเฉลี่ยการเผาผลาญไขมันกลุ่มฝึกระดับเบาร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีน (74.22%) มากกว่าการฝึกระดับเบาร่วมกับการให้สารหลอก (58.44%) ฝึกระดับเบา (57.60%) และกลุ่มควบคุม (49.05%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยมวลไขมันและปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด ของทั้ง 4 กลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่าง นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มการฝึกระดับเบาร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีนมีค่าเฉลี่ยการเผาผลาญไขมันเพิ่มขึ้น 28.1% ส่วนการฝึกระดับเบาร่วมกับการให้สารหลอก และฝึกระดับเบาอย่างเดียวมีค่าเฉลี่ยการเผาผลาญไขมันเพิ่มขึ้นประมาณ 9.4-11.9% จากข้อมูลที่ปรากฏทำให้สามารถสรุปได้ว่าการฝึกระดับเบา 45%VO2max ร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีน 2 กรัม/วัน เป็นวิธีการที่ส่งผลให้ร่างกายสามารถเผาผลาญไขมันเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่ามวลไขมันและปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด ทั้งนี้การรับประทานแอล-คาร์นิทีน ควรทำควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และผู้ที่แพ้แอล-คาร์นิทีน ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2708 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
pubh8n2p67-76.pdf | 578.29 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น