กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/269
ชื่อเรื่อง: การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลมะม่วงหิมพานต์: การประเมินคุณสมบัติการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากผลมะม่วงหิมพานต์
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์
สมจิตต์ ปาสะกาศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การพัฒนาผลิตภัณฑ์
มะม่วงหิมพานต์
มูลค่าเพิ่ม
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผลเทียมมะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale) เป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาความสามารถในด้านปฏิกิริยาออกซิเดชันและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลมะม่วงหิมพานต์ โดยได้วิเคราะห์ความสามารถในการกำจัดอนุมูล DPPH และอนุมูล ABTS จกผลมะม่วงหิมพานต์ พบว่า ความสามารถในการกำจัดอนุมูล DPPH ของน้ำคั้นมะม่วงหิมพานต์สีเหลืองและสีแดง มีค่า EC50 เท่ากับ 54.47+-2.74 และ 65.52+-3.03 ส่วนต่อล้านส่วนโดยปริมาตร ส่วนความสามารถในการกำจัดอนุมูล ABTS คิดเทียบเป็นค่าสมมูลโทรล๊อกซ์ให้ค่าใกล้เคียงกัน คือ 230+-53 และ 222+-51 ไมโครโมลาร์ของโทรล๊อกซ์ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้ ได้วิเคราะห์ปริมาณรวมของสารประกอบฟีนอลในสารสกัดเอธานอลของน้ำคั้น มีค่าเท่ากับ 10.24+-0.44 และ 20.42+-0.52 มิลลิกรัมของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัดจากน้ำตั้นผลมะม่วงหิมพานต์สีเหลืองและสีแดง ตามลำดับ ในการทดสอบผลของสารสกัดจากมะม่วงหิมพานต์ ได้เริ่มต้นจากการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ความอยู่รอดของเซลล์ด้วยวิธีเททราโซเลียม และทดสอบผลของการได้รับรังสีแกมมาและยา doxorubicin พบว่า สามารถใช้งานได้ดี จึงนำมาใช้ในการทดสอบการออกฤทธิ์ของสารสกัด พบว่า สารสกัดจากมะม่วงหิมพานต์สีเหลือง แสดงแนวโน้มการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งชนิด CL6 มากกว่าเซลล์ชนิด RMCCA1 โดยความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญของเซลล์ ร้อยละ 50 มีค่าเท่ากับ 2.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สำหรับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากน้ำคั้นและผลมะม่วงหิมพานต์ ประกอบด้วย น้ำผลไม้เข้มข้น กัมมี่เจลลี่และมะม่วงหิมพานต์หยี จากการทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่า น้ำมะม่วงหิมพานต์เข้มข้น ร้อยละ 80 ได้รับความนิยมมากที่สุด ส่วนผลิตภัณฑ์ในรูปของแข็ง พบว่า ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากน้ำมะม่วงหิมพานต์ได้รับค่าความนิยมมากกว่ามะม่วงหิมพานต์หยี เนื่องจากผู้ทดสอบไม่คุ้นเคยกับกลิ่นของเนื้อมะม่วงหิมพานต์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/269
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น