กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2676
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกวิทย์ มณีธร
สมคิด เพชรประเสริฐ
ธีระ กุลสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมทางการเมือง
การเลือกตั้ง
นักศึกษา - - กิจกรรมทางการเมือง
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทย 2) พัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรการถ่ายทอดทางการเมืองจากครอบครัว การถ่ายทอดทางการเมืองจากสถาบันการศึกษา การถ่ายทอดทางการเมืองจากสื่อมวลชน ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง และความโน้มเอียงทางการเมืองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งของนักศึกษา 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งของนักศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 2,327 คน จากมหาวิทยาลัย 18 แห่ง เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดความรู้ความเข้าใจทางการเมือง การถ่ายทอด ทางทางการเมืองจากครอบครัว การถ่ายทอดทางการเมืองจากสถาบันการศึกษา การถ่ายทอดทางการเมืองจากสื่อมวลชน ความโน้มเอียงทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา จำนวน 45 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) ในการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ระดับความรู้ความเข้าใจทางการเมืองอยู่ในระดับสูง 2) ระดับการถ่ายทอดทางการเมืองจากครอบครัว จากสถาบันการศึกษา และจากสื่อมวลชน อยู่ในระดับมาก 3) ระดับความโน้มเอียงทางการเมืองด้านความสำนึกในหน้าที่พลเมือง ความไว้วางใจทางการเมืองและความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมืองอยู่ในระดับมาก 4) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งอยู่ในระดับปานกลาง 5) การวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรการถ่ายทอดทางการเมืองจากครอบครัว การถ่ายทอดทางการเมืองจากสถาบันการศึกษา การถ่ายทอดทางการเมืองจากสื่อมวลชน ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง และความโน้มเอียงทางการเมืองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งของนักศึกษา พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบค่าไค-สแคว์ มีค่าเท่ากับ 22.95 ที่องศาอิสระเท่ากับ 15 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (X2/df) เท่ากับ 1.53 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ .08 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .99 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .99 ดัชนีวัดความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .99 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .01 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .01 ตัวแปรทั้งหมดในแบบจำลองสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งของนักศึกษาได้รัอยละ 51 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ความโน้มเอียงทางการเมืองได้รับอิทธิพลทางตรงจากความรู้ความเข้าใจทางการเมือง (DE=.25) การถ่ายทอดทางการเมืองจากครอบครัว (DE=.17) การถ่ายทอดทางการเมืองจากสถาบันการศึกษา (DE=.21) การถ่ายทอดทางการเมืองจากสื่อมวลชน (DE=.25) 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งได้รับอิทธิพลทางตรงจากความรู้ความเข้าใจทางการเมือง (DE=.45) และความโน้มเอียงทางการเมือง (DE=.38) และได้รับอิทธิพลทางอ้อมผ่านความโน้มเอียงทางการเมืองจากตัวแปรความรู้ความเข้าใจทางการเมือง (IE=.10) การถ่ายทอดทางการเมืองจากครอบครัว (IE=.06) การถ่ายทอดทางการเมืองจากสถาบันศึกษา (IE=.08) และการถ่ายทอดทางการเมืองจากสื่อมวลชน (IE=.09)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2676
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
politic6n3p77-98.pdf4.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น