กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2597
ชื่อเรื่อง: | ยุทธศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Brand management strategy for Thai Premier League professional football club development |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิชิต อู่อ้น อนุพงษ์ แต้ศิลปสาธิต |
คำสำคัญ: | ชื่อตราผลิตภัณฑ์ ทีมฟุตบอล - - การจัดการ ฟุตบอล |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกและศึกษาองค์ประกอบทางธุรกิจตลอดจนสร้างยุทธศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพ ไทยพรีเมียร์ลีก อันจะนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงการกีฬาแห่งประเทศไทย ผู้บริหารบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ผู้บริหารสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 23 ตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญถูกคัดเลือกแบบเจาะจง เมื่อทำการวิจัยเชิงคุณภาพแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อตรวจสอบความคิดเห็น และลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์อีกครั้ง ด้วยการแจกแบบ สอบถามไปยังกลุ่มที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลกับยุทธศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีกจำนวน 475 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าการวิเคราะห์เนื้อหาในลักษณะของการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงตรรกะเพื่อตีความข้อมูลในเรื่องยุทธศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพ ไทยพรีเมียร์ลีกและสถิติที่ใช้ในการวิจัยในเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบ คือ ค่าเฉลี่ย (Means) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพ เรื่องยุทธศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก ยังมีแง่มุมต่างๆ ที่มีความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิง อาทิเช่น การบริหารและการจัดการแบบมืออาชีพ งบประมาณ การตลาด การสื่อสารและสร้างชื่อเสียง ตลอดจนการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ ผู้วิจัยนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ดังนี้ 1. การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของสโมสร 2. การสร้างคุณค่าของสโมสรฟุตบอลให้สูงกว่ามูลค่าต้นทุน 3. การกำหนดจุดยืนของสโมสรเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ 4. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและสามารถพัฒนาวัฒนธรรมนั้นให้มั่นคงเป็นธุรกิจได้ 5. การสร้างความสำเร็จของสโมสรที่ยั่งยืน 6. ยุทธศาสตร์การจัดหารายได้ ผลการตรวจสอบยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ด้วยวิธีเชิงปริมาณพบว่า ยุทธศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีกทั้ง 6 ยุทธศาสตร์นั้น เป็นยุทธศาสตร์ที่ผู้เกี่ยวข้องยอมรับและมีความคิดเห็นว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ควรนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมในการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2597 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
mba7n1p109-117.pdf | 816.26 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น