กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2593
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
dc.contributor.authorขนิษฐา ดวงชื่น
dc.contributor.authorสงวนศักดิ์ เภสัชสงวน
dc.contributor.authorกชพร นรมาตย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:16:06Z
dc.date.available2019-03-25T09:16:06Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2593
dc.description.abstractแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในบริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเกาะสีชัง ตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยได้กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในบริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเกาะสีชัง ระเบียบวิธีการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นายกเทศมนตรีตำบลเกาะสีชัง 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 3 คน ประธานชุมชน 3 คน ผู้ประกอบการ 5 คน และนักท่องเที่ยว 5 คน รวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเกาะสีชังทั้งสิ้นจำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะสีชัง ช่วยส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรีได้ ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาเกาะสีชังจากการประกอบอาชีพของตนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการในการพัฒนาเกาะสีชัง นอกจากนี้ เกาะสีชังยังมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์รวมถึงวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเกาะสีชัง ซึ่งมีศักยภาพสามารถพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่ปัจจุบันเกาะสีชังมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยังไม่รองรับนักท่องเที่ยว อีกทั้งควรปรับปรุงการบริการแต่ละด้านให้มากขึ้น จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคภายในบริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเกาะสีชัง ทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น สำหรับนำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในบริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเกาะสีชัง โดยแต่ละภาคส่วน ควรมีบทบาทและมีส่วนช่วยในการพัฒนาการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ควรจัดหารายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากงบประมาณที่มีอยู่เดิมและควรพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ปัจจุบันไม่ได้ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สำหรับ ผู้ประกอบการควรพัฒนาทักษะและความสามารถในการบริการ สำหรับชุมชนประชาชนควรมีส่วนร่วมหรือบทบาทในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น และสำหรับรักท่องเที่ยวควรมีจิตสำนึกรู้คุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการท่องเที่ยวth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.subjectเกาะสีชัง (ชลบุรี) - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในบริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเกาะสีชังตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume7
dc.year2555
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to propose a development plan for tourism in Koh Si Chang area of Chonburi province. This is a qualitative research using in-depth interviews in collecting data from 15 people consisting of 5 civil servants, 5 entrepreneurs, and 5 tourists. The strengths, weaknesses, opportunity, and threats of tourism of Koh Si Chang are analyzed in order to build a development plan. The results reveal that Koh Si Chang could be further developed to be a tourism landmark of Chonburi with more participation of people in community in formulating a development plan for the area. In fact, Koh Si Chang has high potential for attracting more tourists since it has a unique culture and many interesting historical places. However, insufficient facilities and accommodations appear to be obstacles. Thus, higher participation from related individuals, communities, and organization are essential. For example, the government should allocate more budgets to develop underutilized areas around Koh Si Chang while entrepreneurs should develop their service competencies and skills. At the same time, communities should actively participate in developing the place while tourist should help preserve the environment and natural resourcesen
dc.journalวารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ = Journal of Graduate School of Commerce Burapha Review
dc.page79-92.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
mba7n1p79-92.pdf1.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น