กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2589
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่งในเครือสหพัฒน์พิบูลอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤช จรินโท
สุชนนี เมธิโยธิน
ธาณัชตรา สมัครจิตร
กฤษณา โพธิสารัตนะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: การตัดสินใจ
การลาออก
ลูกจ้าง - - การลาออก
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการของโณงงานผลิภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่งในเครืองสหพัฒน์พิบูล อำเภอศรีราชา จงหวัดชลบุรี มีวัติถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาการส่งผลระหว่างปัจจัยจูงใจ แบะปัจจัยธำรงรักษาขององค์การสถานประกอบการในการทำงานกับการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่งในเครืองสหพัฒน์พิบูล อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 314 ตัวอย่างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉ,ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบเพื่อวัดความแตกต่างของค่าเฉ,ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และ Binary logistics regression ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยจูงใจเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยย่อยๆเรียงตาลำดับความสำคะญคือ ด้านความสำเร็จ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความยอมรับนับถือ และด้านลักษณะงานเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งการทดสอบสมมติฐานสรุปว่าปัจจัยจูงใจที่ส่งผลกับการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านความสำเร็จและด้านความรับผิดชอบมีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ อันเนื่องมากจากพนักงานระดับปฏฺบัติการให้ความสำคัญในปัจจัยดังกว่าวนี้และต้องการแสดงความสามารถของตนในการทำงานจนงานที่ปฏิบัติสำเร็จลุล่วงและได้รับการทอบหมายความรับผิดชอบในงานเป็นแรงจูงใจมีผลทำให้การลาออกลดลง ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดความพอใจในงานซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับการปฏิบัติงานและทำให้พนักงานเกิดความสุขในการทำงาน 2. ปัจจัยธำรงรักษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งประกอบไปด้สยปัจจัยย่อยๆ เรียงตามลำดับความสำคัญคือ ด้านรายได้ในการทำงานมีอิทธิพลต่อการลาออกจากงานเป็นอันดับแรก ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านความมั่นคงในงาน ด้านบริษัทและนโยบายการบริหาร และด้านบรรยากาศในการทำงานเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่าทุกปัจจัยธำรงรักษาส่งผลกับการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ใกล้ชิดกับพนักงานและมีผลต่อความเป็นอยู่มากที่สุด ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดความไม่พอใจในงานปัจจัยธำรงรักษาจะส่งผลกับสิ่งแวดล้อมของงานและเป็นตัวป้องกันความไม่พอใจในงาน ทั้งนี้เมื่อพนักงานได้รับการตอบสนองปัจจัยนี้อย่างเพียงพอแล้วจะมีการลาออกลดลง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2589
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น