กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2586
ชื่อเรื่อง: | การเคลื่อนไหวทางการแข่งขันของธุรกิจนำเที่ยวแบบ OUTBOUND |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชนนี เมธิโยธิน มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยว การแข่งขันทางการค้า บริษัทนำเที่ยว สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
บทคัดย่อ: | กลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน สำหรับธุรกิจนำเที่ยวแบบ OUTBOUNTD โดยใช้แนวคิดแรงกดดันทางการแข่ง (Competitive Forces) ของ Michael E. Porter ได้เสนอการประเมินสถานการณ์ความรุนแรงการแข่งขันทางธุรกิจไว้ 5 ด้าน เรียกว่าแรงกดดัน 5 ประการ (Five Forces) เป็นวิธีการประเมินโอกาสในการทำกำไร ประเมินความเข้มแข็งและโอกาสทางธุรกิจ ประกอบด้วย 1) แรงกดดันของการเข้ามายังอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของคู่แข่งขันรายใหม่ (New entrants) 2) แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายเดิมในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Segment rivalry) 3) แรงกดดันของสินค้าทดแทน (Substitute) 4) แรงกดดันจากอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ (Buyers) 5) แรงกดดันจากอำนาจการต่อรองของการจ้างงานภายนอก (Outsource) เป็นกลยุทธ์วิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงทางการแข่งขันในตลาด รวมถึงประเมินสภาพการแข่งขันของธุรกิจตนเองว่าอยู่ในสถานะ ผู้นำ ผู้ท้าชิง ผู้ตาม หรือผู้เจาะตลาดส่วนเล็ก สำหรับกลยุทธ์ในการแข่งขันนั้นมีหลากหลายวิธีในการชนะคู่แข่งขัน Michael E. Porter ได้นำเสนอไว้นั้นมี 3 วิธี 1) เป็นผู้นำทางด้านต้นทุนรวม (Overall Cost Leadership) 2) การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) 3) การมุ่งตลาดเฉพาะส่วน (Focus) ไม่ว่าผู้บริหารจะใช้วิธีใด ในการชนะการแข่งขันทางธุรกิจ สำคัญที่ความสามารถของผู้บริหาร ในการรับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงให้ทันตามภาวะปัจจุบันและแก้ไขปัญหาของการถูกคุกคามจากคู่แข่งให้รวดเร็วที่สุด อีกทั้งยังต้องหาแนวทางป้องกันสรา้งความเข้มแข็งให้บริษัทสามารถครองใจนักท้องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2586 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
mba7n1p1-8.pdf | 946.43 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น