กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2546
ชื่อเรื่อง: การสมรสข้ามวัฒนธรรม : แนวทางการปรับตัวและผลกระทบต่อสังคมไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจนจิรา ผลดี
สมหมาย แจ่มกระจ่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การปรับตัวทางสังคม
การสมรสข้ามวัฒนธรรม
ครอบครัว
วัฒนธรรม
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพวิถีชีวิตและสาเหตุของการตัดสินใจสมรส ข้ามวัฒนธรรมของคนไทย ผลกระทบที่มีต่อสถาบันครอบครัว สังคมและวัฒนธรรมไทย และแนวทางการปรับตัวของคนไทยที่สมรสข้ามวัฒนธรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้สมรสข้ามวัฒนธรรมที่เป็นคนไทย จำนวน 18 ราย คณะกรรมการของสหพันธ์ครอบครัวเพื่อความสามัคคีและสันติภาพโลก จำนวน 7 ราย และการสนทนากลุ่ม คู่สมรสที่สมัครใจ จำนวน 9 ราย วิเคราะห์ข้อมูลแบบตีความและสรุปข้อมูลสำคัญจากบทสนทนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สมรส มีความ ศรัทธาในความรักแท้ ดำรงชีพอย่างพอเพียง การใช้จ่ายถือหลักประหยัดมัธยัสถ์อดออม จดทะเบียนสมรส บุตร/ ธิดาถือสองสัญชาติ เลี้ยงดูบุตร/ ธิดาให้มีเหตุผล คาดหวังให้บุตร/ ธิดาพูดได้สองภาษา บิดาเป็นหลักในการอบรมจริยธรรมบุตร/ ธิดา ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ จีน ไทยสื่อสาร เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง บุตร/ ธิดาใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ มีวัฒนธรรมอยู่แบบเครือญาติให้เกียรติผู้อาวุโสพี่ดูแลน้อง สาเหตุของการตัดสินใจสมรสข้ามวัฒนธรรมของคนไทย ฝ่ายภายนอกต้องการมีครอบครัวอบอุ่นประสบผลสำเร็จ ไม่หย่าร้าง มีส่วนร่วมสร้างสันติภาพโลกตามอุดมคติหลักปรัชญา บิดา/ มารดาญาติอาวุโสไม่มีส่วนในการตัดสินใจ ฝ่ายจิตใจภายใน (ฝ่ายจิตวิญญาณ) เชื่อว่าเป็นเจตจำนงของพระเจ้าที่ต้องการให้สมรสเพื่อพัฒนาตนให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบ 2. ผลกระทบต่อสังคม เป็นครอบครัวที่มีคู่สมรสเพียงคนเดียวไม่หย่าร้างไม่เสพสิ่งเสพติดและอบายมุขยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม รับผิดชอบครอบครัว มีศูนย์กลางอยู่ที่ความรักแท้ ให้คุณค่าด้านจริยธรรม ส่งเสริมค่านิยมนับถือคุณค่าความดี เลี้ยงดูบุตร ธิดาให้รักนวลสงวนตัวไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มีจิตอาสา อยู่เพื่อผู้อื่นสังคมและประเทศชาติ วัฒนธรรมการให้เกียรติผู้อาวุโสตามระบบเครือญาติ สามี/ภรรยามีสิทธิเท่าเทียมกัน 3. แนวทางการปรับตัว องค์กรมีโครงสร้างดูแล แต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มเป็นระบบตามเชื้อชาติ แผนกครอบครัวรับพรเป็นหน่วยงานกลางให้คำปรึกษา จัดอบรมสัมมนาอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดกรอบแนวคิดทบทวนความเข้าใจหลักปรัชญาฯ อยู่เสมอ ด้านตัวผู้สมรสเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยตนเอง ศึกษากฎหมายการสมรสกับชาวต่างชาติทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ใช้หลักปรัชญาเป็นแนวทางปรับตัวบนพื้นฐาน “ความเชื่อ” มีอุดมคติสูงสุด คือ“สร้างสันติภาพให้เกิดในโลก” ผ่านสถาบันครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่ม “ให้ทำความดี มีชีวิตหลังความตาย” สร้างแรงจูงใจให้ทำความดีเพื่อสร้างตัวตนที่ดีก่อนไปสู่โลกฝ่ายวิญญาณหลังความตายเพื่ออยู่ร่วมกับคู่ของตนตลอดนิรันดร์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2546
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc7n2_5.pdf1.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น