กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2544
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ | |
dc.contributor.author | เอกวิทย์ มณีธร | |
dc.contributor.author | จรัสศรี รูปขำดี | |
dc.contributor.author | อายุตม์ สินธพันธุ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:16:03Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:16:03Z | |
dc.date.issued | 2552 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2544 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์สาเหตุและพฤติกรรมการกระทำผิดซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อวิเคาะห์หาสาเหตุของการกระทำความผิดโดยใช้ศิลปะภาพเขียน การเก็บข้อมูลจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์และการตีความจากภาพเขียนซึ่งเป็นการทำงานผ่านการบันทึกข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการศึกษาพบว่า ภาพเขียนที่ผ่านการวิเคราะห์ผลของผู้ต้องขังในเรือยจำพิเศษพัทยาทั้งหมดในการใช้ทฤษฎีแบะเส้นทางสัญลักษณ์ในทางศิลปะมาประกอบเป็นข้อมูลช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุของการกระทำผิดของผู้ต้องขังพบว่า ภาพเขียนสามารถอธิบายเรื่องพฤติกรรม ที่เป็นมาของสาเหตุในการประกอบอาชญากรรมได้ พบว่าสีเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยในการอธิบายได้อย่างลึกซึ้งถึงสาเหตุในการทำความผิด เรื่องของความรู้สึกแลอารมณ์ซึ่งเป็นพฤติกรรมของมนุษย์เป็นเรื่องสภาพจิตของผู้ต้องขังในการบอกถึงพฤติกรรมได้ ในการวิเคราะห์ในเรื่องสีที่ชอบสามารถสะท้อนถึงความปรารถนาภายใน ซึ่งสามารถโยงไปถึงตัวเนื้อหาภายใน การถ่ายทอดโดยภาพการแสดงออกจากภาพเขียน เป็นการแสดงออกโดยการทำงานระหว่างจิตที่ปกติของผู้ต้องขังในขณะนั้นได้ โดยใช้หลักการวิเคราะห์จากทฤษฎีทางการตีความทางศิลปะว่า ศิลปะสามารถอธิบายผลได้ การยืนยันผลทางข้อมูลแบบสัมภาษณ์สามารถอธิบายถึง สภาวะจิต ความต้องการของจิต ที่ส่งผลกระทบจากภายในสู่ภายนอกโดยผ่านงานศิลปกรรม จากการวิเคราะห์ในส่วนของผู้ต้องขังพบว่า ความสัมพันธฺระหว่างภูมิหลังของครอบครัวของผู้ต้องขังนำไปสู่ประเด็นสาเหตุการทำผิด สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็นสาเหตุและที่มาของพฤติกรรมการทำผิด จากการวิจัยโดยนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องพบว่าภูมิหลังของผู้ต้องขังเป็นสาเหตุหนึ่งในการสร้างให้ผู้ต้องขังมีพฤติกรรม และสร้างความเชื่อและสร้างปมด้อยในวัยเด็กส่งผลต่อมาจนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่นแบะส่งผลต่อไปข้างหย้า และเป็นการสร้างประเด็นในการเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาภายในครอบครัวอันเกี่ยวเนื่องมาถึงสาเหตุในการประกอบอาชญากรรมและพฤติกรรมเบี่ยงเบน การศึกษาวิจัยเรื่องการใช้ภาพเขียนพบว่าสามารถช่วยผู้ต้องขังและยับยั้งลดความกดดัน ความก้าวร้าวลงได้ วิเคาะห์ได้ว่าทฤษฎีทางศิลปะนำมาใช้ในการหาสาเหตุในการทำความผิดได้อย่างลึกซึ้ง และการนำแนวทางวิชาความรู้เรื่องการตีความทางภาพเขียนมาใช้ในการจำแนกผู้ต้องขังก่อนนำผู้ต้องขังเข้าไปสู่กระบวนการบำบัด ลดความเครียดและเพื่อเยียวยาให้ผู้ต้องขังกลับคืนเป็นคนดีสู่สังคม สามารถนำศิลปกรรมมาเพื่อ บำบัด โดยการแสดงออก และสร้างสรรค์ โดยการฝึกสมาธิโดยการสร้างสรรค์ และศิลปกรรมยังเป็นการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขังด้วย การใช้ศิลปะเพื่อช่วยในเรื่องการสืบสวนสอบสวนพบว่าภาพเขียนสามารถตอบคำถามต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนำผู้ต้องขังเข้ามารับโทษในเรือนจำสามารถใช้การวาดภาพเพื่อช่วยงานสืบสวนในเรื่องของผู้ที่ไม่สามารถให้ข้อมูลได้เนื่องจากการพิการไม่สามารถสื่อสารด้วยวาจาได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถนำวิธรการสืบค้นในกรณีที่ผู้ต้องขังไม่สามารถให้ปากคำได้โดยลดความตึงเครียดโดยใช้การวาดภาพ หรือ การเขียนบอกเล่า หรือเพื่อการป้องกันการเกิดปัญหาในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษย์ระหว่างผู้ต้องหากับเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การประเมินพฤติกรรม | th_TH |
dc.subject | นักโทษ | th_TH |
dc.subject | ภาพเขียน | th_TH |
dc.subject | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์สาเหตุและพฤติกรรมการกระทำผิดของผู้ต้องขังโดยใช้ศิลปะภาพเขียน กรณีศึกษา : เรือนจำพิเศษพัทยา | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 1 | |
dc.volume | 1 | |
dc.year | 2552 | |
dc.journal | วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of politics, administration and law | |
dc.page | 176-198. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
175-198.PDF | 12.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น