กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2528
ชื่อเรื่อง: | Circulation in the upper Gulf of Thailand investigated using a three-dimensional hydordynamic model |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | การไหลเวียนของกระแสน้ำในอ่าวไทยตอนบนจากการศึกษาโดยใช้แบบจำลองไฮโดรไดนามิค 3 มิติ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ ปราโมทย์ โศจิศุภร K. Olaf Niemann Tetsuo Yanagi Satsuki Matsumura มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | Gulf of. Hydrodynamics. Ocean currents - - Thailand |
วันที่เผยแพร่: | 2009 |
บทคัดย่อ: | แบบจำลองไฮไดรไดนามิค Princeton Ocean Model (POM) ได้ถูกนำมาใช้ศึกษาการไหลเวียนเชิง 3 มิติของกระแสน้ำในอ่าวไทยตอนบน โดยพิจารณา ลม น้ำขึ้น-น้ำลง และน้ำท่า เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ผลที่ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของรูปแบบการไหลเวียนของกระแสน้ำที่สอดคล้อง กับทิศทางของลมมรสุม กระแสน้ำที่ผิวทะเลเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของลม ในขณะที่กระแสน้ำในที่ลึกลงไปมีทิศทาตรงข้าม เกิดจากการไหลแทนที่น้ำที่ผิวทะเล ไดเวอร์เจน (divergence) และคอนเวอร์เจน (convergence) ที่ผิวทะเลสอดคล้องกับการเกิดปรากฏการณ์น้ำผุด (upwelling) และน้ำมุด (downwelling) ตามลำดับ จากการคำนวณค่ากระแสน้ำฌฉลี่ยตลอดความลึกพบว่า เกิดการไหลเวียนแบบตามเข็มนาฬิกาในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และแบบทวนเข็มนาฬิกาในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการไหลเวียนกระแสน้ำที่ผิวทะเลจากแบบจำลองมีความสอดคล้องกับค่าที่ได้มาจากการตรวจวัด อย่างไรก็ดี พบความไม่สอดคล้องของผลการเปรียบเทียบในเดือนกรกฎาคม ซึ่งอาจเกิดจากลักษณะของลมที่แตกต่างกันในแต่ละปี อิทธิพลของน้ำจากตอนกลางของอ่าวไทย อิทธิพลของน้ำท่าหรือจากธรณีสัณฐานของพื้นทะเล จึงควรที่จะต้องทำการศึกษากันต่อไปในอนาคต ถึงปัจจัยและกลไกของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2528 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
894-3259-1-SM.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น