กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2519
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมอารมณ์กับการตระหนักรู้ทางสังคมของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เพ็ญนภา กุลนภาดล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การควบคุมอารมณ์ การตระหนักรู้ทางสังคม ความตระหนัก มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ - - นักศึกษา อารมณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการควบคุมอารมณ์ และ ระดับการตระหนัก รู้ทางสังคมของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการ ควบคุมอารมณ์กับการตระหนักรู้ทางสังคม 3) เพื่อศึกษาการควบคุมอารมณ์ที่ส่งผลต่อการตระหนักรู้ทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2554 จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการตระหนักรู้ทางสังคม ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดย ใช้กรอบแนวคิดของกรีนสแปน และ ดิสคอล และ แบบวัดการควบคุมอารมณ์ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิด ของ โรเจอร์ และ นาจาเรียน ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดการตระหนักรู้ทางสังคมและแบบวัดการควบคุมอารมณ์ โดยใช้สูตรความสอดคล้องภายในแบบอัลฟา (α) ของครอนบัค (Cronbach) เท่ากับ 0.84 และ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีระดับการควบคุมอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางโดย องค์ประกอบการควบคุมอารมณ์ด้านการควบคุมอารมณ์ให้สมเหตุสมผล มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การยับยั้งอารมณ์ ด้านการทบทวนอารมณ์ และ การควบคุมความก้าวร้าว ตามลำดับ 2. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพามีระดับการตระหนักรู้ทางสังคม โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยองค์ประกอบด้านการรับรู้ต่อสังคมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการเข้าใจสังคม ด้านการมีส่วนร่วมในแก้ไขปัญหาสังคม และ ด้านการสื่อสารทางสังคม ตามลำดับ 3.การควบคุมอารมณ์ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความสัมพันธ์กับการตระหนักรู้ทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นขนาดความสัมพันธ์ระดับปานกลางในทางบวก 4.การควบคุมอารมณ์ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ใช้เป็นตัวแปรพยากรณ์มีความสัมพันธ์กับการตระหนักรู้ทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2519 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p230-243.pdf | 5.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น