กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2518
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorประชา อินัง
dc.contributor.authorศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์
dc.contributor.authorโอลั้ง เพ่งจินดา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.available2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2518
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะเวลาของ การทดลอง ต่อภูมิคุ้มกันตนของนักเรียนวัยรุ่น เปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันตนของนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการให้คำปรึกษา กลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม และกลุ่มควบคุมในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล และเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันตนภายในกลุ่มของนักเรียนวัยรุ่น ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล ประชากรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม จำนวน 41 คน และ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ที่มีคะแนนภูมิคุ้มกันตน อยู่ในกลุ่มต่ำ จำนวน 16 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม (Random Assignment) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวัดภูมิคุ้มกันตน และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม การเก็บข้อมูลดำเนินการตั้งแต่เริ่มวัดผลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซำ้ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ และพฤติกรรม มีคะแนนเฉลี่ยภูมิคุ้มกันตนในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง และสูงกว่านักเรียนวัยรุ่นกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยภูมิคุ้มกันตนของนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มth_TH
dc.subjectนักเรียน - - การให้คำปรึกษาth_TH
dc.subjectภูมิคุ้มกันตนth_TH
dc.subjectวัยรุ่นth_TH
dc.titleผลของการให้คำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมที่มีต่อภูมิคุ้มกันตนของนักเรียนวัยรุ่นth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume23
dc.year2555
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the interaction between the method applied and the duration of experiment, to compare the level on psychological immunity of adolescent students in the pretest, the posttest, and the follow - up phases, to compare the level on psychological immunity within group in the pretest, the posttest, and the follow - up phases . The sample used in this study consisted of sixteen students in Matthayomsuksa 4-6 at Noensaiwittayakom School in the academic year of 2010, who had lower psychological immunity. The sample was randomly assigned to the experimental group and the control group; each group comprising eight students. The data collecting procedure was divided into three phases: the pretest, the posttest, and the follow-up. The instruments were the psychological immunity scale and the rational emotive behavior group counseling program. The data was analyzed by repeated measure analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subjects variable and paired-different test by Newman-Keuls procedure.The results of the study indicated that there was statistically significant interaction at .05 level between the method applied and the duration of experiment. The adolescent students in the experimental group had higher psychological immunity in the posttest and the follow-up phases than the pretest phase and higher than in the control group with statistic significance at .05 level. There was no statistically difference between the posttest and the follow-up phases of the experimental group.en
dc.journalวารสารศึกษาศาสาตร์ = Journal of education
dc.page201-215.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p201-215.pdf5.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น