กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2487
ชื่อเรื่อง: เคมีซุปราโมเลกุล : เซ็นเซอร์ทางเคมี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จอมใจ สุกใส
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ฟลูออโรจีนิกเซ็นเซอร์
เคมี
เคมีซุปราโมเลกุล
โคโมจีนิกเซ็นเซอร์
เคมีไฟฟ้า
วันที่เผยแพร่: 2552
บทคัดย่อ: เคมีซุปราโมเลกุลเป็นการศึกษาอันตรกิริยาแบบนอนโควาเลนส์ระหว่างโฒเลกุลของไฮสต์และเกสต์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำความรู้ทางเคมีซุปราโมเลกุลมาพัฒนาเป็นโมเลกุลที่ใช้เป็นตัวเลือกจับทางเคมี(chemical receptor) และเซ็นเซอร์ทางเคมี(chemical sensor) ซึ่งโฒเลกุลทั้งสอดังกล่าวนี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยหลายๆแขนง อาทิเช่น การพัฒนางานวิจัยทางสิ่งแวดล้อม การเพทย์และอุตสาหกรรม โมเลกุลที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวเลือกจับทางเคมีนั้นต้องมีโ๕รงสร้างและมีสมบัติทางเคมีที่เหมาะสมในการเลือกจับกับเกสต์โมเลกุล สำหรับโมเลกุลของเซ็นเซอร์ทางเคมนั้นต้องประกอบ ไปด้วยส่วนที่สำคัญ2ส่วนคือ ส่วนที่ใช้ในการเลือกจับ(recognition unit)และส่วนของหน่วนให้สัญญาณ(sensory unit)ในส่วนของหน่วยให้สัญญาณนี้อาจจะ เป็นโมเลกุลที่มีสมบัติเป็นโครโมฟอร์ ฟลูออโรฟอร์ หรือโมเลกุลที่สามารถเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ได้ ซึ่งเมื่อโมเลกุลของเซ็นเซอร์จับกับเกสต์โมเลกุลแล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของหน่วยให้สัญญาณในบทความนี้ ได้จำแนกชนิดของเซ็นเซอร์ทางเคมีออกเป็น 3 ประเภทตามชนิดของหน่วยให้สัญญาณได้แก่ โครโมจีนิกเซ็นเซอร์ ฟลูออโรจีนิกเซ็นเซอร์ และเซ็นเซอร์ทางเคมีไฟฟ้า
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2487
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
109-118.pdf215.35 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น