กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/244
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเอกรัฐ ศรีสุข
dc.contributor.authorกล่าวขวัญ ศรีสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/244
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ทำการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของส่วนสกัดย่อยเฮกเซน เอทิลอะซิเตท และน้ำจากส่วนสกัดเอทานอลของลำต้นใต้ดินเร่วหอม (Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M.Sm) และว่านสาวหลง (Amomum biflorum Jack) การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัด โดยการทดสอบฤทธิ์การกำจัดอนุมูล 2,2-Diphenyl-1-picrylhdrazyl (DPPH) ทดสอบความสามารถในการรีดิวซ์และความสามารถในการคีเลทไออนของโลหะ จากการทดสอบพบว่าส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตท ของพืชทั้งสองชนิดมีฤทธิ์กำจัดอนุมูล DPPH และมีความสามารถในการรีดิวซ์สูงที่สุด ในขณะที่ส่วนสกัดย่อยเฮกเซนของเร่วหอม และส่วนสกัดย่อยน้ำของว่านสาวหลง มีความสามารถในการคีเลทไอออนสูงที่สุด และเมื่อทำการศึกษาฤทธิ์ ด้านเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่า สกัดย่อยเฮกเซนของเร่วหอมและว่านสาวหลงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซินเนสดีที่สุด นอกจากนี้ทำการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของส่วนสกัดจากเร่วหอมและว่านสาวหลง พบว่าส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทของเร่วหอม และว่านสาวหลงสามารถยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจหนู RAW264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วย LPS โดยส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทของเร่วหอม มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์มีค่า IC50 เท่ากับ 16.28+-9.16 ไมโครกรัมต่อมิลลิเมตร ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทของเร่วหอม สามารถลดการแสดงออกของ iNOS ได้ทั้งในระดับ nRNA และโปรตีนในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น รวมทั้งการเคลื่อนที่ของ p65 NF-KB เข้าสู่นิวเคลียส ยิ่งไปกว่านั้นส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทของเร่วหอมยังแสดงฤทธิ์ลดการผลิตโพรสาแกลนดิน E2 จากผลการทดลองทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าลำต้นใต้ดินของเร่วหอมและว่านสาวหลงเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระและสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส รวมทั้งสารที่มีฤทธิ์ต้านอักเสบ In this study the biological activities of hexane, ethyl acetate water fractions of ethanol xtracts from rhizomes of Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M. Sm and Amomum biflorum Jack. were evaluate. Various antioxidant activity assays including 2,2 -diphenyl-1picrylhydrazyl (DPPH) reducing power and ferrous-ion chelating were performed. The ethyl acetate fractions of the plants showed the highest DPPH radical scavenging activity as well as reducing power. Whereas, the hexane fraction of pavieana and water fraction of A. biflorum contained the most potent in ferrous-ion chelating activity. Among the extracts of each plant, the hexane fraction exhibited the highest anti-tyrosinase activity. Furthermore, ethyl acetate fractions of E. pavieana and A. biflorum significantly inhibited nitric oxide (NO) production in lipopolysaccharide (LPS)-stimalated RAW264.7 macrophage cells. The ethyl acetate raction of E. pavieana showed the most inhibitory effect on NO production with an IC50 of 16.28+-9.16 mg/mL. The mRNA and protein expression of inducible nitric oxide synthase (iNOS) were suppressed also by ethyl acetate fraction of E. pavieana as was p65 NF-KB nuclear translocation. Additionally, ethyl cetate fraction of E. paviean could inhibit prostaglandin E2 production in RAW 264.7 macrophage cells. discoverd that the rhizomes of E. pavieana and A. biflorum are sources of antioxidants, ntityrosinase and antiinflammation.th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับเงินอุดหนุนทุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) งบประมาณปี 2554en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectต้นเร่วหอมth_TH
dc.subjectพืชสมุนไพร - - ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectว่าน - - การใช้ประโยชน์th_TH
dc.subjectว่านสาวหลงth_TH
dc.subjectสมุนไพร - - การใช้รักษา - - วิจัยth_TH
dc.subjectสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นเร่วหอมและว่านสาวหลงth_TH
dc.title.alternativeInvestigation of bioactive compounds from etlingera pavieana and amomum biflorumen
dc.typeงานวิจัย
dc.year2554
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น