กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2441
ชื่อเรื่อง: ผลของความเค็มและไนไตรท์ต่อค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดและการดูดซึมไนไตรท์เข้าสู่กระแสเลือดของกุ้งขาวแวนนาไม
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
กฤษดา ทองเทียม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งขาว
ความเค็ม
ค่าออสโมลาลิตี้ของเลือด
ไนไตรท์
วันที่เผยแพร่: 2553
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาผลของความเค็มและไนไตรท์ต่อค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดและการดูดซึมไนไตรท์เข้าสู่กระแสเลือดของกุ้งขาว แวนนาไม กุ้งขาวที่ใช้ทดลองมีน้ำหนักเฉลี่ย 12.42±1.69 กรัม และความยาวเฉลี่ย 11.25±0.78 เซนติเมตร ทำการทดลองโดยเลี้ยง กุ้งขาวในน้ำที่มีความเค็ม 4 ระดับคือ 5, 10, 20 และ 30 ppt และมีความเข้มข้นไนไตรท์ในน้ำเท่ากับ 40 ppm ทำการวัดค่า ออสโมลาลิตี้ และปริมาณไนไตรท์ในเลือดที่เวลา 24, 48 และ 96 ชั่วโมง พบว่าค่า ออสโมลาลิตี้ มีค่าเพิ่มขึ้นตามความเค็มของ น้ำที่เพิ่มมากขึ้น ที่ความเค็ม 5 ppt ค่าออสโมลาลิตี้ของกลุ่มควบคุมมีค่าสูงกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P<0.05) โดยมีค่าออสโมลาลิตี้ เท่ากับ 579±7 และ 515±22 mOsm/kg ที่เวลา 48 ชั่วโมง และเท่ากับ 580±4 และ 509±22 mOsm/kg ตามลำดับ ที่เวลา 96 ชั่วโมง ส่วนการสะสมไนไตรท์ในเลือดพบว่าไนไตรท์มีการสะสมมากที่สุดที่ความเค็ม 5 ppt และเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเวลามากขึ้นปริมาณการสะสมไนไตรท์จะลดลงเมื่อความเค็มน้ำสูงขึ้น ปริมาณไนไตรท์ในเลือดที่เวลา 96 ชั่วโมง เท่ากับ 20.74±2.226, 13.50±1.86, 4.57±1.54 และ 2.98±1.08 ppm ที่ความเค็ม 5, 10, 20 และ 30 ppt ตามลำดับ ซึ่งที่ความเค็ม 5 และ 10 ppt มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ที่ความเค็ม 20 และ 30 ppt ไม่มีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จากการศึกษาเป็นไปได้ว่าการเลี้ยงกุ้งที่ความเค็มต่ำจะมีโอกาสประสบปัญหาความเป็นพิษจากไนไตรท์ มากกว่าการเลี้ยงกุ้งที่ระดับความเค็มสูง Hemolymph osmolality and nitrite uptake to hemolymph of white-leg shrimp (Litopenaeus vannamei) were studied. The average body weigth and length of shrimps used in this experiment were 12.42±1.69 g and 11.25±0.78 cm, respectively. The white-leg shrimps were reared in four different salinities (5, 10, 20 and 30 ppt) with the concentration of nitrite at 40 ppm in each salinity. Osmolalities of hemolymph and nitrite uptake to hemolymph were measured at 24, 48 and 96 hour. The result showed that osmolality of hemolymph increased with salinities. At 5 ppt, the osmolality at 48 hour and 96 hour of the control group (579±7 and 580±4 mOsm/ kg, respectively) were significantly higher than that of the experimental groups (515±22 and 509±22 mOsm/kg respectively) (P<0.05). The result on nitrite uptake to hemolymph showed that the highest concentration of nitrite in hemolymph was at 5 ppt. The hemolymph nitrite increased with times but decreased with increasing salinities. At 96 hour, the hemolymph nitrite levels were 20.74±2.26, 13.50±1.86, 4.57±1.54 and 2.98±1.08 ppm at salinities of 5, 10, 20 and 30 ppt, respectively. Hemolymh nitrite levels at 5 ppt and 10 ppt were significantly different (P<0.05); however, at 20 ppt and 30 ppt the hemolymph nitrate levels were not significantly different (P>0.05). It is possible that culturing of white-leg shrimp at low salinity may encounter more toxicity from nitrite than those of culturing at high salinity.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2441
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
20-28.pdf947.07 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น