กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2424
ชื่อเรื่อง: ฟลักซ์ความร้อนที่ผิวหน้าทะเลในรอบปีบริเวณอ่าวไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Annual surface heat flux in the gulf of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พนธิภา เลือดนักรบ
อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
ฟลักซ์
ฟลักซ์ความร้อน
อุณหภูมิมหาสมุทร - - ไทย
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: ได้ทำการศึกษาฟลักซ์ความร้อนผิวหน้าทะเลบริเวณอ่าวไทยในแต่ละเดือนในรอบปีโดยใช้ข้อมูลฟลักซ์ความร้อนเฉลี่ยรายเดือน 4 ชนิด คือ ความร้อนจากการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ ความร้อนจากการนำและการพาความร้อน ความร้อนจากการแผ่รังสีกลับของน้ำทะเล และความร้อนจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำ พบว่าผิวทะเลได้รับความร้อนจากฟลักซ์ความร้อนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์มีค่าสูงสุด ในเดือนมีนาคม (256.85 W/m2) และมีค่าต่ำสุดในเดือนตุลาคม (174.4 W/m2) ฟลักซ์ความร้อนจากการแผ่รังสีกลับของน้ำทะเลทำให้เกิด การสูญเสียความร้อนจากผิวหน้าทะเลต่ำสุดในเดือนสิงหาคม (-32.02 W/m2 ) และสูงสุดในเดือนมีนาคม (-50.43 W/m2) ฟลักซ์ความร้อน จากการนำและการพาความร้อนทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ (-10.83 W/m2) และสูงสุดในเดือนกันยายน (-20.08 W/m2 ) ฟลักซ์ความร้อนจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำทำให้มีการสูญเสียความร้อนต่ำสุดในเดือนตุลาคม (-65.8 W/m2) และสูงสุดในเดือนธันวาคม (-113.02 W/m2) ค่าฟลักซ์ความร้อนรวมมีทิศทางจากอากาศลงสู่ทะเลตลอดทั้งปีโดยมีค่าสูงสุดในเดือน เมษายน (110.89 W/m2) และต่ำสุดในเดือนธันวาคม (5.43 W/m2) เฉลี่ยตลอดทั้งปีมีค่าเท่ากับ 60.28 W/m2 โดยอิทธิพลหลักมาจาก การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการเปลี่ยนสถานะของน้ำ การแพร่กระจายเชิงพื้นที่ของฟลักซ์ความร้อนรวมที่ผิวหน้าทะเลในช่วงเวลาต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการระบายความร้อนที่ผิวทะเลโดยลม โดยพบว่าพื้นที่บริเวณท้ายลมมีแนวโน้มของการสูญเสียความร้อนมากกว่าพื้นที่บริเวณต้นลมเสมอ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2424
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p77-86.pdf3.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น