กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/241
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจังหวัดชลบุรีให้ปราศจากยาฆ่าแมลง สีสังเคราะห์และแบคทีเรียก่อโรค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of seafood products sale in chon buri for insecticides, synthetic dyes and pathogenic bacteria-free
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
สวามินี ธีระวุฒิ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
สารต้านจุลชีพ
สารต้านแบคทีเรีย
อาหารทะเล - - การปนเปื้อน
อาหารทะเล - - จุลชีววิทยา - - ไทย - - ชลบุรี
อุตสาหกรรมอาหารทะเล - - มาตรการความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจังหวัดชลบุรีให้ปราศจากยาฆ่าแมลงสีสังเคราะห์และแบคทีเรียก่อโรค” ในปีที่ 2 ได้ทำการศึกษา 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 คือการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพร 10 ชนิด ต่อ S.aureus ซึ่งเป็นตัวแทนของแบคทีเรียก่อโรคในอาหารทะเลแห้งด้วยเทคนิค Agar well diffusion assay พบว่าสารสกัดสมุนไพรชนิด A ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 80 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเจริญของ S.aureus ได้ดีที่สุด รองลงมา คือกลุ่มของสารสกัดสะระแหน่ มะนาว พริกและขิง และกลุ่มที่มีฤทธิ์ยับยั้งน้อยที่สุดคือสารสกัดมะกรูด ตะไคร้ กระเทียม ขมิ้นชันและพริกไทย จากนั้นนำสารสกัดสมุนไพรA มาศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์หมึกบดแห้ง พบว่าสารสกัดชนิดนี้สามารถยับยั้งแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรป แบคทีเรียกลุ่มทนเค็ม S.aureus ยีสต์และรา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสารสกัดสมุนไพรชนิด A จึงมีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นสารกันเสียทางเลือกใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง S.aureus เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคแทนการใช้สารกันเสียสังเคราะห์ได้ในอนาคต และการในส่วนที่ 2 คือ การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งของแบคทีเรียโพรไบโอติกต่อ S.aureus โดยทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพของแบคทีเรียโพรไบโอติกกลุ่ม Bacillus sp.5 สายพันธุ์ ใน 2 รูปแบบคือ แบบส่วนใสและเซลล์แขวนลอยในการยับยั้ง MSSA ที่แขยกได้จากอาหารทะเลแห้งจำนวน 30 ไอโซเลท ซึ่งนำมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งของแบคทีเรียกลุ่ม Bacillus sp.5 แบบเชื้อเดี่ยวและเชื้อผสม จากผลการทดลองพบว่ารูปแบบส่วนใสของแบคทีเรียชนิด Bacillus BUU 004 เพียงสายพันธุ์เดียวที่สามารถยับยั้ง S.aureus ได้คิดเป็น 73.33 % สำหรับรูปแบบเซลล์แขวนลอย พบว่ารูปแบบเซลล์แขวนลอยของแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus BUU 004 สามารถยับยั้ง S.aureus 53.33% และรองลงมาคือ Bacillus BUU 005 ที่สามารถยับยั้ง S.aureus คิดเป็น 13.33% ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดสมุนไพรชนิด A และ Bacillus BUU 004 มีฤทธิ์ในการยับยั้ง S.aureus ได้ดีที่สุดทั้ง 2 รูปแบบ รวมทั้งน่าจะมีศักยภาพนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารในการยับยั้ง S.aureus ในอาหารทะเลแห้งเพื่อทดแทนสารเคมีต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/241
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น