กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2409
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาการผลิตโพลีโคลนอลแอนติบอดีต่อ Cadmium-Binding Protein จากปลากะพงขาว (Lates calcarifer, Bloch) และการนำไปประยุกต์ใช้ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปภาศิริ บาร์เนท แววตา ทองระอา สุกานดา ทับเมฆา ชุติมา ถนอมสิทธิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | Cadmium-Binding Protein IMAC ปลากะพงขาว โพลีโคลนอลแอนติบอดี |
วันที่เผยแพร่: | 2011 |
บทคัดย่อ: | ปลากะพงขาว (Lates calcarifer, Bloch) ฉีดกระตุ้นด้วย CdNO3.4H2O ความเข้มข้น 4 มิลลิกรัมน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม และแยก Cd-Binding Protein ที่สกัดจากตับโดยใช้วิธี Immobilized metal ion affinity chromotagraphy โดยการผ่าน HisTrap FF crude column ศึกษารูปแบบของโปรตีนด้วยเทคนิคอิเล็กโทรโฟลิซิส พบว่าโปรตีนหลักมีขนาดมวลโมเลกุลประมาณ 10 kDa นำไปผลิตโพลีโคลนอลแอนติบอดีจำเพาะต่อ Cd-Binding Protein และทดสอบประสิทธิภาพของแอนติบอดี โดยใช้เทคนิค Western blot พบว่า การเจือจางแอนติบอดีที่เหมาะสม คือ 1:2,500โดย มีการจับกันของแอนติบอดีกับโปรตีนที่ไม่จำเพาะอื่นค่อนข้างน้อย และพบแถบของ Cd-Binding Protein (~10 kDa) ค่อนข้างชัดเจน เมื่อนำมาประยุกต์ใช้สำรวจการสัมผัสสารเหนี่ยวนำการสร้าง Cd-binding protein ในปลาทะเล บริเวณชายฝั่งทะเลเขตพื้นที่อุตสาหกรรมพบว่า บริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีการแสดงออก48.6% (n=148) สูงกว่าบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งพบ 29.1% (n=158) และเมื่อเปรียบเทียบตามฤดูกาล ฤดูแล้งพบ 51.3% (n=158) และฤดูฝน25.0% (n=148) การนำโพลีโคลนอลแอนติบอดีต่อ Cd-binding protein จากปลากะพงขาวมาใช้สำรวจการสัมผัสสารเหนี่ยวนำการสร้าง Cd-binding protein ในปลาทะเล บริเวณชายฝั่งทะเลเขตพื้นที่อุตสาหกรรมทำให้ทราบสถานการณ์การปนเปื้อนของโลหะหนักบริเวณแนวชายฝั่งทะเล |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2409 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น